หาก SMEs เจ้าไหนเริ่มมีระบบหลังบ้านแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ระบบการควบคุมสต็อกระบบวางแผนการผลิต หรือ ระบบการผลิต แต่ไม่เคยใช้ข้อมูลเหล่านั้นนำมาวิเคราะห์ หรือ แม้แต่อยากจะวิเคราะห์ แต่ไม่รู้จะทำยังไง เริ่มตรงไหนก่อน วันนี้เราอยากนำเสนอ ขั้นตอนที่จะบอกว่าอาจจะเป็นขั้นแรกที่สุด ที่จะทำให้ SMEs สามารถใช้ข้อมูลจากระบบเหล่านั้นมาวิเคราะห์ได้ และขั้นตอนนั้นที่จะแชร์กันให้ฟัง คือ การตั้งชื่อ
การตั้งชื่อ นั้นมีผลอย่างไร ?
อาจบอกได้ว่า มันคือจุดเริ่มต้นของการแบ่งกลุ่มสินค้าของธุรกิจเป็นหมวดหมู่อย่างชัดเจน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ ไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์ยอดขายรายช่องทางการขาย ยอดขายตามคอลเลคชั่น ยอดขายตามสี ปริมาณสต๊อก และอื่นๆอีกมากมาย
หากแต่ว่าการตั้งชื่อนั้นตามใจชอบ อาจจะไม่ช่วยในการวิเคราะห์ได้เสมอไป เหตุเป็นเพราะว่า การตั้งชื่อเหล่านั้นไม่ได้อยุ่ในกลุ่ม และ โครงสร้างที่ชัดเจน ทำให้เราไม่สามารถนำมาวิเคราะห์หรือหาinsightจากข้อมูลได้่
ก่อนจะตั้งชื่อสินค้า เราควรมี Brand Tree structure
เครื่องมือตัวหนึ่งที่เรียกว่า Brand Tree structure หรือ โครงสร้างสินค้าแบบต้นไม้ จะช่วยให้การตั้งชื่อนั่้นออกมาอย่างมีระบบ และทำให้สุดท้าย สามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Brand Tree Structure นั้นคล้าย mind map ที่เราเคยทำกันสมัยเรียน แต่เราจะแตกแขนงสินค้าของเราออกมาเป็นกิ่งก้านต่างๆ ตามรูปแบบธุรกิจของเรา เพื่อให้เห็นภาพอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น Brand tree structure ของร้านจักรยาน ซึ่งขายทั้งจักรยาน และ อุปกรณ์ที่เกี่ยวดับจักรยาน
จากภาพจะเห็นว่าร้านนี้จะเห็นได้ว่า แต่ละกิ่งก้านที่แตกออกมานั้น จะถูกแบ่งย่อยออกมาให้แคบลงมาอีก “ตามลักษณะของสินค้าในสายตาของลูกค้า” โดยเเบ่งสินค้าออกเป็น 2 กลุ่มหลักคือ จักรยาน และ อุปกรณ์ จักรยานเอง 2 แบบให้เลือกตามลักษณะการใช้งาน ถ้าเป็นลูกค้าสายสปอร์ตก็อาจจะมองหาจักยาน Road wind ในขณะที่ลูกค้าที่เป็นแม่บ้านจะมองหาจักรยานแม่บ้าน อย่างCB Comfy Bike เช่นเดียวกัน ฝั่งอุปกรณ์ (Accessories) ถูกแบ่งออกมาได้เป็น หมวกสำหรับแข่งBMX หมวกทั่วไปลายดอกไม้ และอื่นๆ ตามการใช้งานของลูกค้า
การทำBrand Tree Structureแบบนี้จะทำให้ SMEs เองนั้น
เห็นภาพของกลุ่มสินค้าของตัวเองออกมาได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ช่วยในการมองหาโอกาสในอนาคตได้อีกด้วย อาทิ เช่น ร้านนี้ ยังไม่มีหมวดหมู่ของ เสื้อผ้า เลยและอาจลงทุนนำเสื้อผ้ามาขายในอนาคตก็เป็นได้ และเมื่อในทางร้านได้ตัดสินใจเอาเสื้อผ้ามาวางขายแล้วนั้น Category ของเสื้อผ้า ก็ควรจะถูกแยกออกมา โดยมี Product เป็น เสื้อ / กางเกง / ถุงมือ และ อื่นๆ
การไม่มี Brand Tree Structure อาจส่งผลให้ธุรกิจไม่สามารถวางแผนการเติบโตในอนาคตได้
ปัญหาที่เราพบเมื่อทำการพูดคุยกับลูกค้า คือ ไม่ได้มีการทำ Brand tree structure ขึ้นมาอย่างชัดเจน รวมถึง ไม่ได้มีการสื่อสารถึงทุกคนภายในทีม และทำความเข้าใจภาพของ brand tree structure อย่างถ่องแท้ ซึ่งความไม่ชัดเจนตรงนี้ จะส่งผลให้ ธุรกิจไม่สามารถวางแผนการเติบโตในอนาคต และไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลออกมาได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น
การทำfilter บนเว็บไซด์ ไม่ตรงกับ Brand tree structure ทำให้ไม่สามารถสื่อสารและแบ่งกลุ่มสินค้าได้อย่างชัดเจน และลูกค้าหาสินค้าไม่เจอ
มองไม่เห็นภาพรวมของสินค้าในธุรกิจ ทำให้อาจทุ่มกับบางหมวดของสินค้าจนมากเกินไป จนลืมไปว่า ยังมีสินค้าหมวดอื่นอีกที่เราสามารถนำมาเปิดตลาดได้ ในกรณีตัวอย่าง อาจจะเป็น ที่ว่า ทุ่มเทนำ หมวก (Helmet) มาจำหน่ายอย่างหลากหลาย เพื่อเพิ่มยอดขาย แต่ลืมไปว่า การนำ category หรือ หมวดหมู่ใหม่ อาทิ เช่น เสื้อผ้า มาวางขาย อาจทำกำไรได้ง่ายกว่าด้วยซ้ำ
การตั้งชื่อสินค้า โดยใช้ Brand Tree Structure
เมื่อเรามี Brand tree structure ที่ชัดเจนแล้ว ในระบบหลังบ้านหลายๆเจ้า มักจะช่วยรายงานข้อมูลแบบสรุปได้เบื่องต้นตาม Category Level กว้างๆ เช่น บอกได้ว่าขายBike ไปกี่คันแล้ว แต่อาจจะไม่ได้ระบุว่า Bike ที่ขายไปเป็น Road Wind หรือ CB Comfy Bike กี่คัน สีอะไรบ้าง เนื่องจากไม่ได้ให้มีที่ใส่รายละเอียดสินค้าเหล่านี้ในระบบ แต่เราสามารถบันทึกรายละเอียดเหล่านี้ลงไปได้ในชื่อสินค้า
ตรงนี้นี่เองที่การตั้งชื่อที่ดี มีระบบ จะช่วยได้มากในการวิเคราะห์ข้อมูล เพราะเมื่อเราต้องการวิเคราะห์รายละเอียดเหล่านี้ ก็จำเป็นจะต้องดึงรายงานแบบละเอียด แล้วเอามาวิเคราะห์ใน excel
การตั้งชื่อที่ดีควรประกอบด้วย
ชื่อสินค้า = Category Level 1 - Category Level 2 - Collection Name (Size) / Color
ยกตัวอย่างเช่น:
กรณี มีไซส์ของสินค้า
หมวกจักยานลายดอกไม้สีแดง = Accessory-Helmet-Floral (S) / Red
กรณี ไม่มีไซส์ของสินค้า
จักรยาน Road Wind Turbo สีแดง = Bike-Road wind-Turbo (F) / Red
การที่เราเรียงข้อมูลตามนี้จะทำให้เราใช้ Function ใน excel อย่าง Text to column และ pivot เพื่อเเยกประเภทสินค้า หมุนข้อมูลได้หลายมุมมอง ที่ช่วยให้คุณตัดสินใจทางธุรกิจ อย่างการเติมสต็อกหรือออกสินค้าใหม่ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การเรียงชื่อสินค้าแบบมีระบบบนwebsite หรือ social commerce อย่าง Lazada, Shoppee จะช่วยให้ลูกค้าหาสินค้าเจอได้ง่ายขึ้น และ เข้าใจในทันทีว่าสินค้านี้มีคุณสมบัติอะไรบ้าง
เมื่อ Brand tree structure ของธุรกิจชัดเจนจนถึงขั้นนี้ และ มีการตั้งชื่อตามหมวดหมู่แล้วนั้น การวิเคราะห์ ก็จะเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นมากแล้ว และทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจสามารถสร้างตารางข้างล่างขึ้นมาได้
และคราวนี้ไม่ใช่แค่หมวดหมู่ของสินค้าที่เราสามารถวิเคราะห์ได้แล้ว แต่รวมถึง การวิเคราะห์ยอดขาย และ สต๊อกตามคอลเลคชั่น ตามไซส์ สี เพื่อที่จะใช้ดูอย่างละเอียดว่าตอนนี้ ธุรกิจกำลังประสบปัญหาใด หรือ มีโอกาสทางธุรกิจไหนที่เข้ามาบ้าง
ทั้งหมดนี้อาจจะดูยุ่งยากในเบื้องต้น หรือ การทำในครั้งแรก แต่เป็นการลงทุนที่จะช่วยให้ เจ้าของธุรกิจตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูล ณ ปัจจุบัน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการเติบโต และ วางแผนธุรกิจโดยคิดจากมุมมองของลูกค้าอยู่เสมอ (customer centric) ดังนั้นทางเราอยากแนะนำให้ SMEs ลองนั่งทบทวน หรือ ชวนทีมงานมาทำ Brand tree structure ของ Brand และ ตั้งชื่อสินค้าอย่างมีระบบดู ไม่แน่คุณและทีมอาจจะมองเห็นโอกาสใหม่ หรือ ช่องโหว่ทางธุรกิจในการทำแบบฝึกหัดง่ายๆนี้ก็ได้
หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางแผนธุรกิจ คาดการณ์ยอดขาย และ การจัดการสินค้าคงคลัง ติดต่อMuchroom ได้ที่
- ☎️ Tel: 082-221-3441
- 📧 email: muchroom.consultancy@gmail.com
- FB Message : http://m.me/muchroom.consultancy/
Kommentare