top of page
Writer's pictureJanejira R.

ลดต้นทุนด้วยการขายให้ดีขึ้น

Updated: May 25, 2021

เมื่อพูดถึงความเชี่ยวชาญในการผลิตจำนวนมากๆในต้นทุนที่ถูกแล้ว หลายคนคงนึกถึงประเทศจีน วันนี้เราจะมาบอกความเผยความลับที่พี่จีนสามารถทำแบบนี้ได้กัน! หลายๆคนคงคิดว่า ปกติขายมาก ต้นทุนก็ย่อมมากตามไปด้วยเป็นธรรมดา แต่ไม่จำเป็นเสมอไปหากคุณมี Economy of Scale


Economy of Scale เป็นศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ แปลเป็นไทยได้ว่าการประหยัดเนื่องจากขนาด โดยมากมักหมายถึง ความได้เปรียบที่เกิดจากการที่ SME สามารถผลิตได้มากขึ้น จนทำให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลงได้


พูดง่ายๆก็คือ ยิ่งทำมาก ผลิตมาก ก็ยิ่งคุ้ม

การที่เราขายได้มากนั้น จะทำให้เราต้องผลิตมากขึ้น เเต่ต้นทุนลดลงเนื่องมากจากหลายสาเหตุเช่น

  • ประหยัดแรงงาน เนื่องจากใช้แรงงานได้คุ้มค่ามากขึ้น อีกทั้งแรงงานมีความขำนาญมากขึ้น ทำให้ผลิตได้มากขึ้นทั้งๆที่จ้างเเรงงานจำนวนเท่าเดิม

  • ประหยัดค่าวัตถุดิบ การซื้อจำนวนมากทำให้SMEสามารถประหยัดต้นทุนต่อหน่วยได้ จากการได้ส่วนลดเพิ่มจากผู้ผลิตวัตถุดิบ

  • ประหยัดด้านการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย การมีสินค้าพร้อมขายจำนวนมากขึ้น จะช่วยให้ต้นทุนโฆษณาการขายต่อชื้นลดลงไปโดยปริยาย

  • ประหยัดค่าขนส่ง การผลิตมากๆทำให้ต้นทุนด้านการขนส่งและกระจายสินค้าลดลง เพราะสามารถมีสินค้าให้ขนต่อเที่ยวมากขึ้น



เรามาดูตัวอย่างกันค่ะ ว่าการขายได้มาก จะทำให้เรามีต้นทุนต่อหน่วยต่ำลงได้อย่างไร...


บริษัทผลิตกระเป๋าในจีน ผลิตกระเป๋าได้ 1,000 ใบต่อวัน มีค่าใช้จ่ายในการผลิตดังนี้

  • ค่าเช่าโรงงาน 100,000

  • ต้นทุนหนังทำกระเป๋า ต่อใบ 200 บาท x 1,000ใบ = 200,000

ต้นทุนกระเป๋าเฉลี่ยต่อใบคือ (100,000+200,000)/1,000ใบ = 300 บาท


ในขณะเดียวกัน บริษัทABC ผลิตกระเป๋าแบบเดียวกันได้ 500 ใบ มีค่าใช้จ่ายในการผลิตดังนี้

  • ค่าเช่าโรงงานเท่ากันคือ 100,000

  • ต้นทุนหนังทำกระเป๋า ต่อใบ 150 บาท x 500ใบ = 75,000

ต้นทุนกระเป๋าเฉลี่ยต่อใบคือ (100,000+150,000)/500ใบ = 350 บาท


ดังนั้นจะเห็นได้ว่าถึงเเม้ว่าบริษัทABC มีค่าใช้จ่ายถูกกว่า บริษัทในจีน แต่ก็ไม่ได้ทำให้ต้นทุนกระเป๋าต่อหน่วยถูกกว่าเลย เพราะไม่มีeconomy of scaleนั้นเอง


เเต่! ข้อควรระวังของการผลิตจำนวนมากนั้น คือ ต้องแน่ใจว่าสินค้าจะขายออกไปได้จริง ซึ่งการจะทำเช่นนั้นได้นั้นเราจะต้องมีการคาดการณ์ยอดขาย หรือ sale forecast อย่างเเม่นยำ ด้วยการเอาข้อมูลจากระบบหลังบ้านมาวิเคราะห์ร่วมกับสถานการณ์ธุรกิจปัจจุบัน ไม่เช่นนั้นอาจจะเกิดเหตุการณ์ตรงกันข้าม คือ Diseconomy of scale แปลว่ายิ่งขายยิ่งขาดทุน เนื่องจากค่าใช้จ่ายมากขึ้นนั้นเอง

นอกจากนี้เเล้วอาจจะเกิดสินค้าค้างสต๊อกหรือสต๊อกจมอีกด้วย



 

หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการวางแผนธุรกิจ คาดการณ์ยอดขาย และ การจัดการสินค้าคงคลัง ติดต่อMuchroom ได้ที่

- ☎️ Tel: 082-221-3441

- 📧 email: muchroom.consultancy@gmail.com


Comments


bottom of page