จากบทความ7 ความเชื่อผิดๆว่าระบบ Supply Chain ไม่จำเป็นสำหรับ SME เป้าหมายของการมี”ระบบหลังบ้าน”เหล่านี้ก็เพื่อ รวบรวมข้อมูล ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขายรายย่อย ผู้ผลิต และอื่นๆ ไว้ในที่เดียว เพื่อลดความซับซ้อนในการจัดการ เพิ่มความเร็วในการตัดสินใจ และทำให้คนทั้งองค์กรนั้นสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น รวมถึงใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่จะเอามาวิเคราะห์สำหรับการวางแผนการเติบโตในอนาคตอีกด้วย
ดังนั้นวันนี้เราจะมาเเนะนำกันว่าประเภทของระบบหลังบ้านหลักๆมีอะไรบ้างและเราควรเลือกระบบหลังบ้านอย่างไร
ระบบบริหารหลังบ้าน หมายถึง โปรแกรมที่ช่วยจัดการปัญหาหลังบ้านแทบทั้งหมด โดยเราสามารถเเบ่งประเภทของระบบหลังบ้านได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้
ระบบจัดการออเดอร์และสต๊อก เช่น zort, page365 เป็นระบบที่ช่วยให้มีสินค้าเพียงพอต่อการขาย และ จัดการออเดอร์ได้อย่างฉับไว
ระบบบัญชี เช่น peak, flow account เป็นระบบที่ช่วยคุณบันทึกรายได้ ค่าใช้จ่ายทั้งหมด รวมถึงการออกเอกสารทางภาษีต่างๆเช่น ใบหักณที่จ่าย หรือ ใบกำกับภาษี
ระบบบริหารคลังสินค้า เช่น sokochan, shipnity, my cloud เป็นระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพมากในคลังสินค้ามากขึ้น เพิ่มความรวมเร็วในการรับสินค้า เก็บสินค้า และกระจายสินค้าไปยังลูกค้าของคุณ
ระบบคำนวณการสั่งซื้อและการผลิต เช่น business plus, Q.softthai เป็นระบบที่ช่วยในการบริหารจัดการวัตถุดิบเพื่อจัดการและวางแผนความต้องการวัตถุดิบต่างๆ
ในบางบริษัทที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่แล้วมักมีการนำระบบที่เรียกว่า ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้ โดยERPมีหน้าที่ในการเชี่อมโยงข้อมูลจากระบบต่างๆที่กล่าวไปข้างต้นเข้าด้วยกัน เพื่อให้บริษัทสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นระบบเดียว
แต่ถ้าคุณกำลังเริ่มต้น เราแนะนำให้ติดตั้งระบบจัดการออเดอร์และสต๊อกเป็นอย่างเเรก เนื่องจากเป็นกิจกรรมหลักของธุรกิจ ถ้าSMEมั่นใจว่าสินค้าที่คุณขายได้ นั้นจะถูกจัดการอย่างถูกต้องฉับไว SMEสามารถเก็บตังได้ มีสต๊อกเพียงพอต่อความต้องการ และ ถูกส่งไปยังมือลูกค้าอย่างรวดเร็ว การมีระบบจะช่วยให้SMEตอบคำถามเหล่านี้ได้ภายในคลิ๊กเดียว ไม่ต้องเสียเวลามานับสต๊อก หรือ ให้พนักงานคอยจดมือ เช็คยอดขายว่า...
กำไรรวมของสินค้านั้นๆเป็นเท่าไหร่
สินค้าแต่ละตัวเหลือกี่ชิ้นโดยไม่ต้องนับมือ
สินค้าตัวไหนขายได้เยอะที่สุดในช่วงเวลาต่างๆ
สินค้าใกล้หมด แล้วควรสั่งเพิ่มจำนวนเท่าไหร่
การติดตั้งระบบออเดอร์และสต๊อกนั้นมีหลากหลายเเบบไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมสำเร็จรูป โปรแกรมออนไลน์ หรือแม้แต่ Excel ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนมีจุดประสงค์เดียวกัน คือเพื่อให้มีสินค้าในคลังให้เพียงพอต่อการขาย และ จัดการออเดอร์ได้อย่างเเม่นยำ แต่การใช้งานระบบเเต่ละแบบนั้นอาจจะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
วันนี้ Muchroom มี 5 ข้อที่คุณควรให้ความสำคัญเมื่อเลือกใช้ระบบหลังบ้าน มาฝากกันค่ะ
1. ใช้งานง่าย เช็คข้อมูลบนมือถือได้
2. จัดการออเดอร์
รวมออเดอร์จากทุกช่องทางไว้ในที่เดียว และติดตามสถานะการสั่งซื้อได้ ผูกราคาสินค้า และ จำนวนสินค้าคงคลัง ระหว่างหน้าร้านและเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ทำให้SMEมีความแม่นยำมากขึ้น เพราะทุกอย่างทำในระบบเดียว
3. จัดการสต๊อก
อัปเดตสต๊อกสินค้าอัตโนมัติได้แบบเรียลไทม์ หมายความว่า ไม่เพียงสต๊อกจะถูกตัดทันทีที่มีการบันทึกขาย แต่ต้นทุนจะถูกอัพเดททันทีที่คุณมีการซื่้อสินค้าเข้ามาเพิ่มอีกด้วย ทำให้คุณรู้ได้ทันทีว่ากำไรของสินค้านั้นๆเป็นเท่าไหร่ และ สินค้าเหลือกี่ชิ้น
4. มีหน้าตารายงานสรุปที่จำเป็น
เช่น สินค้าขายดี ดูรายงานยอดขาย รายงานสต็อก การคำนวนกำไร-ขาดทุน รายงานสินค้าขายดี หรือ เห็นภาพรวมของบริษัทได้ดีขึ้น
5. เชื่อมต่อได้หลายเเพลตฟอร์มรองรับการขยายของธุรกิจ
โดยเฉพาะช่องทางการขายต่างๆ (Shopee, Lazada, Website)ที่จะช่วยลดการทำงานของคุณในการจดยอดขายเอง โดยเจ้าของSME อาจจะคำนึงถึงการบริการอื่นๆที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าเช่น รองรับการจ่ายเงินหลายรูปแบบทั้ง COD, เครดิตการ์ด, online banking หรือ การเชื่อมต่อกับขนส่งต่างๆ (Kerry, Flash, ไปรษณีย์ไทย) และ การเชื่อมต่อระบบต่างๆที่กล่าวไปข้างต้นไม่ว่าจะเป็น ระบบบัญชี, ระบบบริหารคลังสินค้า, ระบบคำนวณการสั่งซื้อและการผลิต (MRP)
ในปัจจุบันมีให้ผู้บริการระบบจัดการออเดอร์และสต๊อกจำนวนมากที่ให้บริการในรูปแบบ subscription หรือ รายเดือน ในราคาที่ไม่สูงเหมาะกับธุรกิจSME อย่างไรก็ตามระบบอาจจะช่วยอะไรไม่ได้มากนัก หากSMEไม่ได้ปรับวิธีการทำงาน ใช้ระบบอย่างต่อเนื่อง จนสามารถนำข้อมูลออกมาวิเคราะห์และช่วยSME ตัดสินใจในเรื่องการสั่งซื้อ และคาดการณ์ยอดขายได้อย่างเเม่นยำ จนส่งผลให้SMEเติบโตอย่างต่อเนื่องเเละยั่งยืนนั้นเอง
หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลจากระบบหลังบ้านมาใช้ในการวางแผนธุรกิจและการจัดการสินค้าคงคลัง ติดต่อMuchroom ได้ที่
- ☎️ Tel: 082-221-3441
- 📧 email: muchroom.consultancy@gmail.com
- FB Message : http://m.me/muchroom.consultancy/