top of page
  • Writer's pictureTanasit J.

บริษัทขาดทุน ปิดบริษัท ดีไหม 3 เหตุผล ขายดี แต่ทำไมไม่รวยสักที?

Updated: Feb 25, 2021

เมื่อเราพูดถึงการวัดผลการดำเนินงานว่าธุรกิจของเราไปได้ดีแค่ไหน หลายๆคนน่าจะคิดถึง หรือ โฟกัสที่ยอดขายเป็นอันดับเเรก และหลงคิดว่าถ้าเรายิ่งขายได้มาก แปลว่าเราจะรวยมากขึ้น แต่พอมาดูจริงๆ แล้วสรุปว่า บริษัทขาดทุน แทบอยากจะปิดบริษัทกันเลยทีเดียว วันนี้ Muchroom จะบอกคุณว่าความคิดนี้ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป


ในบทความนี้เราจะมาอธิบายให้คุณฟังว่าทำไมการขายดีขึ้น แต่ทำไมไม่รวยขึ้นเสมอไป

3 เหตุผลหลักที่เราพบเจอได้บ่อยคือ การไม่ควบคุมรายจ่าย การตั้งกำไรขั้นต้น (GP) ต่ำเกินไป และ การมีสินค้าคงคลังมากเกินจำเป็น
บริษัทขาดทุน ปิดบริษัท ดีไหม 3 เหตุผล ขายดี แต่ทำไมไม่รวยสักที?

1. การไม่ควบคุมรายจ่าย

คุณเคยได้ยินประโยคนี้หรือไม่ว่า มันไม่สำคัญว่าคุณจะทำเงิน (ยอดขาย) ได้มากเเค่ไหน เเต่สำคัญที่คุณมีเงินเหลือเข้ากระเป๋าเท่าไหร่ต่างหาก ในโลกของธุรกิจคำกล่าวนี้เป็นจริงอย่างปฏิเสธไม่ได้ แต่ก็ยังมีเจ้าของ SME จำนวนมากที่มองข้ามเรื่องนี้ไปอย่างน่าเสียดาย จนทำให้ บริษัทขาดทุน จนต้องปิดบริษัท


เพื่อให้มั่นใจว่าคุณมีเงินเข้ากระเป๋าทุกเดือน เราเเนะนำให้คุณรีวิวค่าใช้จ่ายของคุณเป็นประจำทุกเดือนและพยายามบันทึกรายรับ-รายจ่ายทุกครั้งอย่างเป็นระบบ เพื่อที่คุณจะสามารถเปรียบเทียบระหว่างเงินที่ได้รับและเงินที่จ่ายไปได้ทุกๆสิ้นเดือน ดังนั้นภายในสิ้นเดือนเป้าหมายไม่ได้เป็นเพียงแค่เงินที่คุณสร้างขึ้นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่างๆที่คุณไม่ควรใช้เกินอีกด้วย


2.การตั้งกำไรขั้นต้น (GP) ต่ำเกินไป

สรุปสั้น ๆ ว่ากำไรขั้นต้น (GP) คือยอดขายหักลบด้วยต้นทุนสินค้า เหตุใดกำไรขึ้นต้นถึงเป็นสิ่งจำเป็นในธุรกิจ ถึงขึ้นว่าอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณไม่รวยขึ้นสักที? เหตุเป็นเพราะคุณใช้ GP เพื่อจ่ายค่าใช้จ่ายในธุรกิจของคุณ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าทำโฆษณา ค่าน้ำไฟต่างๆ ดังนั้นหากคุณมี GP น้อยเกินไปคุณจะต้องเผชิญกับเงินที่ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของคุณ


สาเหตุหลักของ GP ที่ต่ำเกินไปมาจากการตั้งราคาขายที่ไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากต้นทุนสินค้า ดังนั้นคุณควรมีมาตราการตั้งราคาขายที่ทำให้ราคาขายของคุณนั้นยังสามารถเเข่งขันได้ในตลาด และ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้นเพื่อรับประกันความมั่งคั่งของคุณในอนาคต


3. เงินของคุณนั้นไปจมอยู่ที่สินค้าคงคลัง

คุณเคยเผชิญกับสถานการณ์ overstock หรือไม่? Overstock เป็นสถานการณ์ที่คุณมีสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบสะสมอยู่ในโกดังของคุณมากเกินไป แถมสินค้าเหล่านี้ยังไม่ได้เป็นสินค้าที่มีความต้องการในตลาดมากเท่าที่คุณคิดไว้ ทำให้สินค้าไม่ได้ขายออกไปเร็วเท่าที่คุณหวังไว้


SME หลายเจ้าเลยที่แก้เกมด้วยการผลิตสินค้าใหม่เพื่อรับประกันยอดขาย ซึ่งบางครั้งก็ไปได้ดี แต่ก็มีสินค้าบางตัวที่ยังไม่ได้ออกไปไวเท่าที่หวังไว้ หากคุณยังทำเอาเงินไปลงทุนในสินค้าและปล่อยปะละเลยสินค้าที่ขายไม่ได้ คุณจะลงเอยด้วยการมีสต็อกเพิ่มพูนขึ้นทุกวันๆ ก่อให้เกิดสินค้าที่เราเรียกว่า Deadstock หรือ สินค้าที่ไม่มีการขายเลย และ ไม่ได้อยู่ในความต้องการของตลาดอีกต่อไป

สถานการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในระดับธุรกิจ SMEs ที่ไม่มีการคาดการณ์ยอดขายอย่างเป็นระบบ เหตุการณ์เเบบนี้ทำให้ SME หลายเจ้าต้องพลาดโอกาสในการสร้างเงินสดและความมั่งคั่งไปอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากเรารายได้ที่สร้างได้ไปจมกับการผลิต หรือ จัดเก็บสินค้าที่ตลาดไม่ต้องการ หากธุรกิจของคุณกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงนี้กันเราขอแนะนำให้คุณอ่านบทความเรื่องการจัดการสต้อกสินค้าได้เลย


จากเหตุผลที่กล่าวมา 3 ข้อข้างต้น เรามี KPI 1 ตัว ที่จะช่วยคุณประเมินผลงานของธุรกิจได้อย่างเห็นภาพมากขึ้น เราขอเเนะนำให้คุณใช้ ROCE ควบคู่ไปกับ อัตราส่วนทางการเงินอื่นๆด้วย เพื่อที่อัตราส่วนอื่นๆเหล่านั้นจะช่วยชี้ให้คุณเห็นว่า ปัญหาของธุรกิจคุณนั้นอยู่ที่จุดใด ส่วนจะใช้อัตราส่วนใดบ้างนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละธุรกิจ ดังนั้นเราจึงอยากแนะนำให้ผู้ประกอบการทุกท่านควรมีความรู้ทางด้านการเงินเเละบัญชีพื้นฐาน เพื่อที่จะได้ขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

โดยสรุปสิ่งที่ SME ควรมุ่งเน้นไม่ใช่เงินที่คุณสร้างขึ้น แต่เป็นเงินที่คุณเหลืออยู่ในกระเป๋าหลังจากการจ่ายต้นทุนสินค้า และค่าใช้จ่ายในธุรกิจ ก่อนที่คุณจะพบว่าบริษัทขาดทุน ปิดบริษัท ดีไหม? หากคุณโฟกัสเพียงเเค่ยอดขายเพียงอย่างเดียวคคุณอาจลงเอยด้วย 3 สถานการณ์ข้างต้น หรือมีคำถามว่า ยอดขายเยอะ แต่ทำไมไม่รวยอย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้นเราจึงอยากให้ผู้อ่านย้อนกลับไปประเมินผลงานของคุณ ไม่เพียงแต่ยอดขายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านอื่นๆ ด้วย (11 เคล็ดลับทำให้ธุรกิจมีกำไร แก้ปัญหาขาดทุน) เพื่อให้คุณเห็นภาพธุรกิจอย่างรอบด้วนมากขึ้นและสร้างการเติบโตให้กิจการได้อย่างยั่งยืน


หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวหัวข้อนี้ และ การวางรากฐานให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างเป็นระบบติดต่อเรา 🍄Muchroom Consultancy

コメント


bottom of page