top of page
  • Writer's pictureTanasit J.

Margin คือ อะไร? การควบคุม Margin และ สร้าง Markup เพื่อรักษาเงินสด & สร้างเงินสำรอง

Updated: Jun 25, 2021

เรามาเริ่มจาก 3 คำถามง่ายๆ กันก่อนดีกว่า


Q1: คุณมีการวัดผลการดำเนินงานโดยใช้ Margin เป็นตัวชี้วัดหรือไม่?

Q2: คุณมีการแยกบัญชีเงินใช่จ่ายส่วนตัวกับบัญชีบริษัทหรือไม่?

Q3: คุณมีเงินสำรองในการดำเนินธุรกิจในกรณีฉุกเฉิน หรือไม่?


หากคุณตอบว่า “ไม่” กับคำถามข้อใดก็ตาม เราอยากให้คุณใช้เวลา 5 นาที ในการอ่านบทความนี้ให้จบ เพราะ เรากำลังจะบอกคุณว่าสิ่งเล่านี้ส่งผลร้ายต่อธุรกิจ และ ผลกำไรของคุณอย่างไร


Margin คือ อะไร? การควบคุม Margin และ สร้าง Markup เพื่อรักษาเงินสด & สร้างเงินสำรอง


Q1 : คุณมีการวัดผลการดำเนินงานโดยใช้ Margin เป็นตัวชี้วัดหรือไม่?

จากการสำรวจ เราพบว่าผู้ประกอบการจำนวนมากกำหนดความสำเร็จของพวกเขาด้วยเงินที่ได้รับจาก การขายสินค้า หรือ ให้บริการ หรือ “ยอดขาย” นั่นเอง และ อีกอย่างที่เราพบคือ พวกเขาไม่เคยกำหนดชัดเจนว่าพวกเขาวางแผนที่จะมียอดขายเท่าใดในแต่ละไตรมาสหรือปี


นอกจากตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนแล้ว เราขอแนะนำให้คุณดู Margin ไปด้วยควบคู่กับการดูยอดขาย Margin หรือที่เราเรียกเต็มๆว่า กำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) Margin สามารถคำนวณได้ดังนี้


Margin คือ (ยอดขาย - ต้นทุน) หารด้วย ยอดขาย

Margin คือ อะไร? การควบคุม Margin และ สร้าง Markup เพื่อรักษาเงินสด & สร้างเงินสำรอง

2 เหตุผลสำคัญที่เราอยากให้คุณดู GP หรือ Margin ควบคู่ไปกับยอดขาย และ ทำอย่างไรให้ธุรกิจ ได้กำไร คือ

  1. แค่เพียงยอดขายเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบอกได้ว่า คุณรวยขึ้น หรือ จนลง - ยิ่งหาเงินได้มาก ไม่ได้หมายความว่าเงินจะเข้ากระเป๋าคุณมาก เพราะ ยอดขายนั้นก็จะต้องนำไปจ่าย ค่าสินค้า หรือ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ทำให้สินค้าอยู่ในสภาพพร้อมขายเสียก่อน

  2. แถม เมื่อหักต้นทุนขายไปแล้ว กำไรขึ้นต้นนี้ คุณก้ต้องนำมาจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก เช่น ค่าจ้างคนเเพคของ ค่าจ้างแอดมิน หรือ ค่ายิงAd โฆษณา ซึ่งส่งผลให้กำไรสุทธิ หรือ bottom line ของคุณลดลงไปอีก หากคุณไม่ควบคุม margin ให้ดี คุณก็อาจจะมีเงินไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ เห็นไหมครับว่า ยอดขายไม่ได้เป็นเครื่องมือการันตี ว่าคุณจะรวยขึ้นเสมอไป

Q2 : คุณมีการแยกบัญชีเงินใช่จ่ายส่วนตัวกับบัญชีบริษัทหรือไม่?

มี SME หลายเจ้าที่สร้างรายได้มากมาย แต่ไม่รู้ว่าพวกเค้ารวยขึ้นเท่าไหร่ ไม่รู้ว่าตั้งเเต่ก่อตั้งธุรกิจมา ได้รับเงินสดหรือใช้จ่ายลงทุนไปแล้วกี่บาท เราถือว่านี้เป็นอันตรายต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก ซึ่งจะนำไปสู่การขาดเงินสดสำหรับหมุนเวียนในธุรกิจของคุณในที่สุด เพราะการที่เราไม่เเยกบัญชีกัน ทำให้เจ้าของกิจการประเมินผลการดำเนินงานอย่างแม่นยำได้เลย เพราะเราไม่รู้เลยว่าตกลงเเล้วเราได้รับเงิน หรือ ใช้จ่ายออกไปเท่าไหร่เเล้ว ส่วนไหนเป็นของธุรกิจ ส่วนไหนเป็นของส่วนตัว


ดังนั้น เราเเนะนำเป็นอย่างยิ่งให้คุณเริ่มแยกบัญชีธุรกิจออกจากบัญชีส่วนตัว


เดียวนี้คุณสามารถเปิด online banking สำหรับ SME ได้อย่างง่ายดาย ตามธนาคารที่คุณใช้บริการอยู่ Online banking สำหรับธุรกิจนี้ยังช่วยให้คุณบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างสะดวกสบายอีกด้วย เช่น จ่ายเงินเดือนพนักงาน, ชำระเงินสมทบประกันสังคม เราได้รวบรวม ธนาคารที่มี online banking สำหรับ SME หรือ คุณสามารถสอบถามเจ้าหน้าธนาคารที่คุณใช้บริการอยู่ได้เช่นกัน


Q3 : คุณมีเงินสำรองในการดำเนินธุรกิจในกรณีฉุกเฉิน หรือไม่?

คำถามนี้เป็นคำถามที่สำคัญที่สุด ถ้าคำตอบของคุณคือไม่มีเงินสำรองฉุกเฉิน เราขอเเนะนำให้คุณโฟกัสกับบทความต่อจากนี้ไปมากเป็นพิเศษ


SME สามารถมีเงินสำรองฉุกเฉินในการดำเนินธุรกิจได้ด้วยการคิด Mark-up ลงไปในราคาขายของสินค้าด้วย


Mark up คืออะไร? Mark up คือ เงินที่เราเผื่อไว้ในราคาขายหรือค่าบริการ โดยเราจะเก็บเงินจำนวนนี้ไว้เพื่อการลงทุนขยายธุรกิจ หรือ ทำมาใช้ในยามฉุกเฉิน ซึ่งทำให้เราไม่ต้องลงทุนเพิ่ม ซึ่งตอบโจทย์ว่าทำอย่างไรให้ธุรกิจ ได้กำไร


ยกตัวอย่างเช่น ร้านของเล่น กำลังจะตั้งราคาขายสำหรับสินค้าใหม่ เจ้าของร้านคิดว่าจะใช้เงินจากยอดขายอีกประมาณ20%ในเพื่อสำรองเงินในการขยายสาขา ดังนั้น เราควร Mark-up 20% จากต้นทุนของของเล่น

  • ต้นทุนของเล่น = 200 THB

  • Mark-up (20%) = 200*20% = 40 THB.

  • ต้นทุนของเล่น + Mark-up (20%) = 200+40 = 240 TH

  • Margin ที่เราต้องการ (30%) = ราคาขายของเล่น = 240*(1+30%) = 312 THB.

ของเล่นที่ขายได้ทุกชิ้น เราจะนำเงิน 40THB/ชิ้นนี้ มาเก็บเป็นเงินสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน หรือ เพื่อการลงทุน ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ Covid-19 ทำให้เราเห็นว่าการมีเงินสำรองเหล่านี้ นั้นสำคัญมาก เพราะ มันจะทำให้ธุรกิจของคุณอยู่ต่อไปได้ แม้เศรษฐกิจจะไม่ดี หรือ ยอดขายต่ำลง ในทางกลับกัน ในวันที่สถานการณ์ดีขึ้น เงินเหล่านี้จะเป็นแหล่งเงินทุนชั้นนำของคุณ ที่จะนำไปใช้จ่ายปันผล ให้โบนัสพนักงาน หรือ ขยายกิจการ โดยไม่ต้องพึ่งเงินกู้จากธนาคาร หรือ นักลงทุนอื่น


เราหวังว่า 3 คำถามนี้ จะนำคุณไปสู่การพัฒนาธุรกิจให้เติบโตขึ้นไปอีกขั้น


หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวหัวข้อนี้ และ การวางรากฐานให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างเป็นระบบ

ติดต่อเรา

🍄Muchroom Consultancy

Comments


bottom of page