top of page
Writer's pictureJanejira R.

ขายดี สินค้ามาร์จินสูง แต่ทำไมไม่รวย

ก่อนที่เราจะ มาหาสาเหตุกัน Muchroom อยากชวนมาเข้าใจก่อนว่า มาร์จิน (Margin) คืออะไรกันแน่ เเล้ว ทำไมมาร์จินถึงยังไม่เท่ากับกำไร


มาร์จินคือไร

  • Gross Profit หรือ กำไรขั้นต้น = ยอดขาย - ต้นทุนขาย

  • Margin% หรือ Gross Profit Margin = กำไรขั้นต้น หารด้วย ยอดขาย

ต้นทุนขาย หมายถึงค่าสินค้า หรือ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ทำให้สินค้าอยู่ในสภาพพร้อมขาย เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าสินค้า ค่าขนส่ง หรือ ค่าpackaging

ดังนั้น จากสูตร เราจะเห็นได้ว่า แค่เพียงยอดขายเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถบอกได้ว่า คุณรวยขึ้น หรือ จนลง - ยิ่งหาเงินได้มาก ไม่ได้หมายความว่าเงินจะเข้ากระเป๋าคุณมาก เพราะ ยอดขายนั้นก็จะต้องนำไปจ่ายค่าต้นต้นทุนสินค้าเสียก่อน หรือ พูดง่ายๆ มาร์จิน (Margin) คือ เงินจากที่หักค่าสินค้าเเล้ว เหลือเป็นกำไรขั้นต้นกี่เปอร์เซนต์

มาร์จิน ยังไม่เท่ากับ กำไรนะ!

กำไรขั้นต้นนี้ SME ต้องนำมาจ่ายค่าใช้จ่ายอื่นๆอีก เพื่อที่จะทำให้สินค้านั้นจากเปลี่ยนสภาพจากพร้อมขาย เป็น ขายได้ส่งถึงมือลูกค้า เช่น ค่าจ้างคนเเพคของ ค่าจ้างแอดมินตอบเเชทลูกค้า หรือ ค่ายิง Ads โฆษณาให้ลูกค้าเห็น Brand ของ SME ซึ่งเมื่อนำกำไรขั้นต้นมาหัก ค่าใช้จ่ายเเล้ว ถึงจะเหลือเป็นกำไรสุทธิ


2 สาเหตุที่ไม่รวย

ที่นี้ ถ้าเราดูตามโครงสร้างงบกำไรขาดทุนแล้ว ดังนั้น สาเหตุที่ไม่รวย เกิดจาก สองส่วนหลักๆคือ

  1. ไม่รวย เพราะ บริหารค่าใช้จ่ายไม่ดี

  2. ไม่รวย เพราะ ไม่มีเงินสดเหลือ

1. ไม่รวย เพราะ บริหารค่าใช้จ่ายไม่ดี

ถ้าดูจากคำนิยามข้างต้นแล้ว กำไรไม่เหลือ สาเหตุแรกอาจเกิดจากการไม่ควบคุมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าหน้าร้าน ค่าใช้จ่ายในการขาย(Marketing) ดังนั้น SME ควรจดบันทึกค่าใช้จ่าย และ หมั่นดูงบการเงินอย่างสม่ำเสมอ


2. ไม่รวย เพราะ ไม่มีเงินสดเหลือ

แต่ถ้าหากว่า SMEทำงบแล้ว ก็มีกำไร แต่ไม่รวย เพราะเงินสดไม่เหลือเลย 3 อย่างนี้อาจเป็นสาเหตุที่เงินสดไม่เหลือ

  • เงินไปจมในสต๊อก

SME ซื้อสต๊อก หรือ สินค้าคงคลังมากเกินไป การวางแผนจัดซื้อที่ดี โดยดูจากยอดขายในอดีต บวกกับ ยอดสั่งขั้นต่ำ(MOQ) และ ระยะเวลาในการผลิต (lead time) จะช่วยให้คุณมีสต๊อกอยู่ในระดับที่พอดี (ติดต่อMuchroomให้ช่วยได้นะ) แต่การที่จะบริหารจัดการสินค้าคงคลังได้ดีนั้น ระบบหลังบ้านมีส่วนอย่างมาก คุนควรต้องรู้ว่าตอนนี้มีสินค้าเหลืออยู่กี่ชิ้น เเต่ละชิ้นขายไปเท่าไหร่เเล้ว อีกกี่วันสินค้าจะหมด (7 ความเชื่อผิดๆว่าระบบ Supply Chain ไม่จำเป็นสำหรับ SME)

  • ไม่มีMark Up

SME สามารถมีเงินสำรองฉุกเฉินในการดำเนินธุรกิจได้ด้วยการคิด Mark-up ลงไปในราคาขายของสินค้าด้วย Mark up คืออะไร? Mark up คือ เงินที่เราเผื่อไว้ในราคาขายหรือค่าบริการ โดยเราจะเเบ่งเงินเก็บนี้จากสินค้าที่ขายได้ทุกชิ้นไว้ ดังนั้นถึงเเม้ว่าเราจะขายไม่ดี แต่เราเเบ่งเงินไว้ทุกครั้งที่ขายได้ เราก็จะมีเงินสดใช้อย่างเเน่นอน

  • เก็บเงินไม่ได้

ในกรณีที่คุณไม่ได้เก็บเงินจากลูกค้าได้ในทันที อาจเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ไม่มีเงินสดเหลือได้ เช่น ขายของได้ แต่อีก 60วันกว่าจะได้เงินจากลูกค้า แต่ในระหว่างนี้คุณก็มีค่าใช้จ่ายที่คุณต้องจ่ายออกไปเรื่อยๆ ทำให้คุณหมุนเงินสดไม่ทัน (รู้จักวงจรเงินสด)


วงจรเงินสด หรือ Cash Conversion Cycle (CCC) เป็นมาตราวัดอย่างหนึ่งที่จะช่วยบอกได้ว่าคุณกำลังช๊อตอยู่หรือเปล่า วงจรเงินสด คือ จำนวนวันกว่าคุณจะได้รับเงินสดหลังจากการดำเนินการทั้งหมด ตั้งเเต่การ สั่งซือวัตถุดิบไปจนถึงวันที่ลูกค้าจ่ายเงินให้คุณ


วงจรเงินสด (ยิ่งเร็วยิ่งดี) = ระยะเวลาทำงาน (ยิ่งเร็วยิ่งดี) + ระยะเวลาเก็บหนี้จากลูกค้า (ยิ่งเร็วยิ่งดี) - ระยะเวลาชำระหนี้การค้า (ยิ่งช้ายิ่งดี)


ยกตัวอย่างเช่น บริษัทเอ ซื้อเสื้อผ้ามาเพื่อขายโดยสินค้าจะอยู่ในคลัง 40 วัน ก่อนที่จะขายได้ โดยขายเป็นเงินเชื่อ โดยให้ระยะเวลาลูกหนี้ชำระเงิน 30 วัน และ ต้องจ่ายชำระค่าเสื้อผ้าที่ซื้อมาภายใน 60 วัน


วงจรเงินสด บริษัทเอ

= ระยะเวลาทำงาน+ระยะเวลาเก็บหนี้จากลูกค้า-ระยะเวลาชำระหนี้การค้า

= 40+30-60

= 10 วัน


ในกรณีนี้แสดงให้เห็นว่า สภาพคล่องของบริษัทเอนั้นไม่ดีนัก บริษัทต้องใช้ระยะเวลาถึง 70 วัน (40+30) กว่าจะส่งมอบสินค้า และได้เงินจากลูกค้า แต่ยังไม่ทันจะเก็บเงินจากลูกค้าได้ก็ต้องจ่ายหนี้ให้กับเจ้าหนี้การค้าซะเเล้ว ดังนั้นคุณจะเห็นได้ว่า วงจรเงินสดนั้นยิ่งสั้นหรือติดลบได้ยิ่งดี นั้นหมายความว่าคุณควรทำงานขายของและเก็บเงินให้ไวกว่าระยะเวลาชำระเจ้าหนี้

Muchroom ยินดีเป็นส่วนหนึ่งของทีมคุณ ในการช่วยคิดคำนวณต้นทุนสินค้า ให้คำเเนะนำในการวางระบบ และ ช่วยวิเคราะห์โครงสร้างราคาขายปัจจุบันของคุณให้มีคุณภาพมากขึ้น มีเงินสดมากขึ้น ทำให้บริษัทของคุณเพิ่มโตอย่างเป็นระบบ เเละยั่งยืน

.

ติดต่อเรา

- ☎️ Tel: 082-221-3441

- 📧 email: muchroom.consultancy@gmail.com


Comments


bottom of page