รู้หรือไม่ว่า กำไรที่คุณเห็นในงบการเงินอาจจะไม่ได้กำไรที่เเท้จริง หรือ เงินที่เข้ากระเป๋าตังคุณเสมอไป ทั้งนี้เพราะ งบการเงินที่เราเห็นกันนั้น จัดทำขึ้นตาม เกณฑ์คงค้าง Accrual Basis แต่กำไรที่จะเข้ากระเป๋าคุณจริงๆ นั้นวัดจาก เกณฑ์เงินสด Cash Basis เรามาเรียนรู้วิธีดูงบกำไรขาดทุนของเรากันดีกว่ามันจริงหรือหลอก
ก่อนที่เราจะลงรายละเอียดกันเราแนะนำให้คุณทำความเข้าใจองค์ประกอบของงบกำไรขาดทุนก่อน
เกณฑ์เงินสด (Cash Basis) คือ คือ การบันทึกบัญชีโดยยึดเงินสดที่เข้า-ออกจากกิจการเป็นสำคัญ ไม่ได้คำนึงว่า รายได้ หรือ ค่าใช้จ่ายได้เกิดขึ้นเเล้วหรือไม่ โดยจะบันทึกรายได้ในงบกำไรขาดทุนเมื่อได้รับเงินสดเท่านั้น และจะบันทึกค่าใช้จ่ายเมื่อมีการจ่ายเงินสดเท่านั้น
เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basis) คือ เน้นการบันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของรายได้และค่าใช้จ่ายเป็นสำคัญ แม้ว่าจะยังไม่ได้รับเงินสด หรือ จ่ายเงินสดจริง ก็ตาม ซึ่งเเตกต่างจากเกณฑ์เงินสด ตรงที่จะบันทึกรายได้เมื่อสินค้าหรือบริการถูกส่งมอบให้กับลูกค้า และ ค่าใช้จ่ายจะบันทึกเมื่อเราได้รับสินค้าหรือบริการจากคู่ค้า แม้ว่าเราจะยังไม่มีการจ่ายหรือรับเงินสดสำหรับค่าใช้จ่ายและรายได้เหล่านั้นก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่น
ในวันที่ 1 กันยายน 2563 บริษัท Greenery จำกัด ขายของโดยให้ B มูลค่า 1,000 บาท credit 30 วัน
ในวันที่ 1 กันยายน 2563 บริษัท Greenery จำกัด ได้ซื้อวัตถุดิบจาก Farm C 5000 บาท เครดิต 60วัน
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า ข้อดีของเกณฑ์เงินสด คือ ความง่ายในการติดตามกระแสเงินสดของบริษัท แต่ข้อเสียของวิธีนี้คืออาจจะทำให้ไม่เห็นภาพรวมของทั้งบริษัท เช่น บริษัทอาจมีเงินสดมากมาย แต่ไม่ได้รับรู้ว่ามีหนี้สินจำนวนมากที่ค้างจ่ายอยู่
ในทางกลับกัน ข้อดีของเกณฑ์คงค้าง คือ การเห็นภาพเเม่นยำมากกว่า โดยเฉพาะในการวัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท ในระยะยาว เนื่องจากเราสามารถไม่เพียงเเต่ย้อนดูบันทึกรายรับทั้งหมดเมื่อได้รับและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเเล้วได้ เเต่เรายังสามารถเห็นยอดขายหรือค่าใช้จ่ายต่างๆที่กำลังจะเกิดในอนาคตอีกด้วย
อย่างตัวอย่างข้างต้น ตอนสิ้นเดือนกันยายน หากเราใช้เกณฑ์เงินสด เราอาจจะคิดว่า เราทำได้ไม่ดีเลย เพราะไม่มียอดขาย และ อาจจะไม่ได้เตรียมตัวจ่ายค่าวัตถุดิบที่กำลังจะเกิดในสองเดือนข้างหน้า แต่หากเราใช้เกณฑ์คงค้าง เราจะสามารถคาดการณ์เหตุการณ์เหล่านี้ล่วงหน้าได้
เเต่ข้อเสียของเกณฑ์คงค้าง อย่างเเรกคือมีความซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากจำเป็นต้องคำนึงถึงรายการต่างๆเช่นรายได้ที่ยังไม่ได้รับรู้และค่าใช้จ่ายล่วงหน้า อีกข้อหนึ่งคือ เราไม่สามารถติดตามกระแสเงินสดได้และด้วยเหตุนี้อาจไม่ได้คำนึงถึงปัญหาการขาดแคลนเงินสดจำนวนมากในระยะสั้นแม้ว่าจะดูทำยอดขายได้มาก แต่อาจเก็บตังได้ช้ากว่าที่จะต้องจ่ายเจ้าหนี้ ดังนั้นนักบัญชีจึงได้มีการจัดทำงบกระแสเงินสดขึ้น เพื่อแสดงว่าเงินสดนั้นไปอยู่ที่ใดบ้างในกิจการ และ ควบคุมวงจรเงินสดให้กิจการมีสภาพคล่องที่ดี
ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เกณฑ์คงค้างถึงแม้ว่าจะซับซ้อนมากกว่า แต่จะช่วยให้เราเห็นภาพรวมเหตุการณ์ธุรกิจที่เกิดขึ้นในปีได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน แต่ข้อเสียก็คือ ไม่ได้สะท้อนสถานะเงินสดที่มีอยู่จริงในธนาคาร
หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวงบกำไรขาดทุนนี้ และ การวางรากฐานให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างเป็นระบบติดต่อเราได้ที่
- ☎️ Tel: 082-221-3441
- 📧 email: muchroom.consultancy@gmail.com
- FB Message : http://m.me/muchroom.consultancy/
Comments