เมื่อพูดถึงความสามารถในการทำกำไรทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า Margin และ กำไรสุทธิกันมาบ้าง แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า Margin กับ Profitต่าง กัน อย่างไร แล้วเราควรใช้อันไหนในการวัดผลงานการดำเนินงานของกิจการ
จริงๆแล้วทั้ง Margin และ กำไรสุทธิ มีที่มาจากงบกำไรขาดทุนเหมือนกัน งบกำไรขาดทุนเป็นงบการเงินที่บอกผลการดำเนินของกิจการว่ามี รายได้ (Revenues) และ ค่าใช้จ่าย (Expenses) เป็นเท่าใด สำหรับช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น งวด 3 เดือน งวด 1 ปี โดยงบการกำไรขาดทุนมีส่วนประกอบดังนี้
งบกำไรขาดทุน รายได้ (Revenue) - ต้นทุนการขายและการให้บริการ (COGS) = กำไรขั้นต้น (Gross profit) - ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A) = กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT หรือ Operating income) - ดอกเบี้ยจ่าย และ ภาษีเงินได้ (Interest & taxes) = กำไร/ขาดทุนสุทธิ (Net profit/Loss)
รายได้ (Revenue)
มาเริ่มกันที่บรรทัดแรกกันเลย ซึ่งก็คือ รายได้ รายได้มี 2 ประเภทหลัก คือ
รายได้จากการขายและการให้บริการ ที่ได้มาจากการดำเนินงานตามปกติ กิจการที่ดี รายได้ประเภทนี้ ควรเป็นรายได้หลักของกิจการและต้องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
รายได้อื่น คือรายได้ที่ไม่ได้มาจากธุรกิจหลักของกิจการ หรือ พวกรายได้เสริม เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากหรือ กำไรจากการขายที่ดินหรือเครื่องจักรออกไป
ต้นทุนการขายและการให้บริการ (COGS)
ต้นทุนการขายและการให้บริการ (Cost of Goods Sold เรียกสั้นๆว่า COGS) คือ ต้นทุนของสินค้าที่ขายได้ในงวดนั้นๆ ต้นทุนนี้หมายถึงค่าใช้จ่ายต่างๆที่ทำให้สินค้าอยู่ในสภาพ "พร้อมขาย" เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรงงานที่ใช้ผลิตสินค้าโดยตรง ค่าขนส่งสินค้าไปยังหน้าร้าน สรุปก็คือค่าใช้จ่ายที่คุณสามารถระบุได้ว่าจ่ายไปเพื่อสินค้าชิ้นไหนนั่นเอง
กำไรขั้นต้น (Gross profit)
Profit กับ Margin ต่างกัน อย่างไร เมื่อนำรายได้หักด้วยต้นทุนการขาย เราก็จะได้ตัวชี้วัดหนึ่งที่คนนิยมใช้คือ กำไรขั้นต้น (gross profit) หรือเรียกสั้นๆว่า margin โดยคำนวณจาก Gross profitหารด้วยรายได้ เช่น ของเล่นหนึ่งชิ้นมีราคาขายอยู่ที่ 200 บาท โดยมีต้นทุนขาย 50 บาท แปลว่า ต่อยอดขาย1บาท เราจะได้กำไรขั้นต้น 150 บาท หรือ มี Margin 75% นั้นเอง สำหรับคนที่สนใจอ่านเรื่อง Margin เพิ่มเติมกดอ่านที่นี่ได้เลย
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร (SG&A)
กำไรขึ้นต้นนี้จะถูกนำมาใช้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร หรือ SG&A คือ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจะต้องมีเพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปได้ แต่ไม่ได้ส่งผลต่อสินค้าโดยตรง เช่น เงินเดือนพนักงานขาย เงินเดือนผู้บริหาร ค่าโฆษณา ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าสำนักงานเป็นต้น
กำไรจากการดำเนินงาน (EBIT หรือ Operating income)
เมื่อนำกำไรขั้นต้นมาหักด้วยSG&Aแล้ว เราก็จะได้ กำไรจากการดำเนินงาน ซึ่งในภาษาอังกฤษ เรียกว่า operating income หรือ EBIT (Earning Before Interest & Taxes) ส่วนนี้จะเป็นตัวชี้วัดว่า การดำเนินการของธุรกิจตั้งแต่ผลิตสินค้าไปจนถึงการขายสินค้าออกไป ธุรกิจของคุณมีกำไรเข้ากระเป๋าเท่าไหร่
ดอกเบี้ยจ่าย และ ภาษีเงินได้ (Interest & taxes)
หลังจากนั้น operating income จะถูกหักด้วย ดอกเบี้ยจ่าย (ในกรณีที่มีเจ้าหนี้เงินกู้) และ ภาษีเงินได้ ก่อนที่จะได้ กำไร/ขาดทุนสุทธิ หากเรามีเงินกู้มาก และ ภาระภาษีมาก ก็อาจทำให้เราขาดทุนได้เหมือนกัน
กำไร/ขาดทุนสุทธิ (Net profit/Loss)
กำไร/ขาดทุนสุทธิ นี้ทางบัญชีจะถูกโอนไปเก็บที่กำไรสะสมในส่วนของเจ้าของ (Equity) และ สะท้อนเป็นความมั่งคั่งที่ธุรกิจของคุณสะสมมาในระยะยาว
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่ง เริ่มต้นดำเนินธุรกิจตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ลงทุนไป 100,000บาท (กู้ยืมมา 40,000 บาท เเละ เจ้าของกิจการลงทุนไป 60,000บาท) กิจการดำเนินงานมา 3 เดือน มีกำไร 20,000 บาท และงบดุล ณ วันสิ้นงวดจะเปลี่ยนแปลงดังนี้
สินทรัพย์ (เงินสด) เพิ่มขึ้น 20,000 บาท และ ส่วนของเจ้าของก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน (กำไรสะสม) เพิ่มขึ้น 20,000 บาท ทำให้โดยภาพรวมกิจการมีขนาดใหญ่ขึ้น 20,000 บาทจากต้นปี
ดังนั้น กิจการที่ กำไรอย่างต่อเนื่อง บริษัทจะมีมูลค่ามากขึ้นเรื่อยๆ ในทางกลับกัน หากขาดทุนอย่างต่อเนื่อง มูลค่าของกิจการก็จะลดลง ดังนั้น การควบคุมดูเเล งบกำไรขาดทุนอย่างสม่ำเสมอเป็นเรื่องที่สำคัญมาก KPI สองตัวที่เราเเนะนำวันนี้ให้คุณดูควบคู่กันไปคือ Margin เพื่อวัดความสามารถในการทำกำไร ก่อนทำนำไปใช้จ่ายอื่นๆ และ กำไรสุทธิ (Net profit) คือ กำไรที่เข้ากระเป๋าคุณว่ามีเเนวโน้มเพิ่มขึ้นหรือลดลงในระยะยาว
เเละเมื่อมองย้อนกลับไป ก็จะทำให้คุณเห็นว่า ทำอย่างไรให้ธุรกิจได้กำไร เริ่มต้นมาจากการตั้งราคาขาย การตั้งราคาขายมีความสำคัญมาก เราจำเป็นจะต้องตั้งราคาขายให้เเข่งขันได้ในธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำร้ายกิจการเป็นราคาขายที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอื่นๆ และ สร้างกำไรเข้ากระเป๋ากิจการได้
หากคุณสนใจเรียนรู้การตั้งราคาสินค้าให้เเข่งขันได้ในตลาด ติดต่อได้ที่
- ☎️ Tel: 082-221-3441
- 📧 email: muchroom.consultancy@gmail.com
- FB Message : http://m.me/muchroom.consultancy/
Comments