คงหลีกเลี่ยงไม่ได้หากจะบอกว่า เจ้าของกิจการทุกคนต่างมีเป้าหมายในใจที่เหมือนกันคือ มีธุรกิจที่มั่นคง และ สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน นอกจากคุณจะต้องชัดเจนในเป้าหมายของคุณแล้ว คำถามสำคัญคือ ตอนนี้ธุรกิจของคุณพร้อมแค่ไหน และ คุณได้เขียนแผนธุรกิจสำหรับเป้าหมายที่คุณตั้งไว้อย่างไร
คุณสามารถประเมินสุขภาพธุรกิจได้เองด้วย การอ่านงบการเงิน และ ตอบคำถาม 3 ข้อต่อไปนี้
ตั้งเเต่เปิดบริษัทมา วันนี้คุณร่ำรวย(Wealth)แค่ไหนแล้ว?
ธุรกิจของคุณมีความสามารถทำกำไร(Profit)แค่ไหน?
เงินที่ได้จากธุรกิจ เหลือมาถึงคุณเป็นเงินสด(Cash)กี่บาท?
คุณสามารถตอบคำถามเหล่านี้ได้ง่ายๆ ด้วย การวิเคราะห์งบการเงินนั้น และ เขียนแผนธุรกิจใหม่ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและสถานการณ์ธุรกิจของคุณ ซึ่งเราแนะนำว่าคุณควรทำอย่างน้อยปีละครั้ง
เพราะการวิเคราะห์งบการเงินและปรับแผนธุรกิจ นั้นมีความสำคัญมาก เปรียบเสมือนผลการตรวจสุขภาพของธุรกิจของคุณเอง เพื่อให้มีความมั่นใจว่าธุรกิจเรามีสุขภาพที่ดี พร้อมลุยต่อไป
บางคนอ่านมาถึงตรงนี้เเล้วอาจจะขมวดคิ้ว แล้ว คิดในใจว่ามันฟังดูยุ่งยากซะเหลือเกิน วันนี้ เราจะอธิบายให้คุณฟังว่ามันไม่ได้ยากอย่างที่คิด ที่นี้เรามาตอบคำถาม 3 ข้อที่กล่าวไปข้างต้นกันเลย
1. ตั้งเเต่เปิดบริษัทมา วันนี้คุณ”ร่ำรวย”แค่ไหนแล้ว? - งบแสดงฐานะทางการเงิน
ข้อนี้ คุณสามารถหาคำถามได้จาก งบแสดงฐานะทางการเงิน หรือ งบดุล งบนี้จะบอกคุณว่าตั้งแต่เปิดกิจการมาคุณมี สินทรัพย์ หนี้สิน และ ส่วนของเจ้าของ มากน้อยแค่ไหน การมีโครงสร้าง หรือ ฐานะที่มั่นคง ย่อมจะทำให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจสร้างการเติบโตได้ในระยะยาว
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของและกำไรสะสม
งบแสดงฐานะทางการเงินจะเเบ่งออกเป็นสองฝั่ง ฝั่งซ้ายคือ รายการสินทรัพย์ เช่น เงินสด สินค้าคงคลัง เครื่องจักรต่างๆ การมีสินทรัพย์มากไม่ได้แปลว่าดีเสมอไป คุณควรหมั่นเช็คสภาพคล่องและ ความสามารถในการเปลี่ยนไปเป็นเงินสดของสินทรัพย์คุณอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้อัตราส่วน ROA วัดว่าสินทรัพย์ที่คุณมีเป็นสินทรัพย์คุณภาพ มีศักยภาพในการสร้างรายได้ และ อัตราส่วน Quick ratio ว่าสินทรัพย์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเงินสดให้คุณใช้ยามจำเป็นได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนฝั่งขวาคือ โครงสร้างเงินลงทุน ว่า คุณได้เงินมาซื้อสินทรัพย์จากไหน โดยแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักๆ คือ 1. หนี้สิน 2. ส่วนของผู้ถือหุ้นและกำไรที่สะสม ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องการลงทุนซื้อเครื่องจักรเพิ่ม เราสามารถหาเงินมาซื้อเครื่องจักรได้โดยการกู้ธนาคาร (หนี้สิน) ใช้เงินลงทุนจากผู้ถือหุ้น หรือ ใช้กำไรที่สะสมมาตั้งเเต่เปิดกิจการ (ส่วนของผู้ถือหุ้นและกำไรที่สะสม)
เริ่มกันที่หนี้สิน บริษัทควรมีสินทรัพย์ เช่น เงินสดหรือลูกหนี้ มากกว่าหนี้สินระยะสั้น เนื่องจาก เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น บริษัทจะสามารถมีกำลังชำระหนี้สินระยะสั้นได้อย่างทันท่วงที นั่นหมายความว่า เมื่อรวมสินทรัพย์กับรวมหนี้สินแล้ว ฝั่งสินทรัพย์ควรมีมากกว่า
ในส่วนของผู้ถือหุ้นและกำไรสะสม จะบอกถึงเงินลงทุนตั้งแต่จัดตั้งรวมกับกำไรสุทธิที่เกิดจากการทำธุรกิจตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน หากมีกำไรสะสมสูงแสดงถึงความสามารถในการทำธุรกิจดีมีประสิทธิภาพ
2. ธุรกิจของคุณมี”ความสามารถทำกำไร”แค่ไหน? - งบกำไรขาดทุน
คำถามนี้ตอบได้จากการดูงบกำไรขาดทุน ในงบกำไรขาดทุนจะบอกคุณว่าในแต่ละงวดการดำเนินงาน (1 เดือน, 3 เดือน หรือ 1ปี) ผลการดำเนินงานของคุณเป็นอย่างไร กำไร หรือ ขาดทุน
รายได้-ค่าใช้จ่าย = กำไร
รายได้จะบอกคุณว่าเมื่อผลิตสินค้าออกมาแล้วขายได้มากน้อยแค่ไหร่ ส่วนค่าใช้จ่ายจะบอกให้คุณรู้ว่าธุรกิจสามารถควบคุมต้นทุนเเละรายจ่ายดีเเค่ไหน แล้วเหลือออกมาเป็นกำไรสุทธิกี่บาท
ดังนั้นการขายได้มากไม่ได้หมายความว่า คุณจะมีกำไรเสมอไปหากไม่ควบคุมค่าใช้จ่ายให้ดี การแบ่งแยกรายได้และค่าใช้จ่ายออกเป็นประเภทต่างๆ จะช่วยให้คุณมองเห็นจุดอ่อนในการดำเนินงานของคุณได้ชัดเจนขึ้น
การวางแผนธุรกิจ เริ่มจากรายได้ หากคุณมีรายได้จากทั้งยอดขายและรายได้อื่นที่ไม่ได้เกี่ยงข้องกับธุรกิจหลักของคุณ เช่น การขายเครื่องจักรออกไป หรือ ให้เช่าพื่นที่สำนักงาน ถ้ารายได้ส่วนมากมาจาก รายได้อื่น ก็หมายความว่า กำไรที่เกิดขึ้นในงวดนี้ไม่ได้เกิดมาจากธุรกิจหลักของคุณ คุณอาจจะต้องพิจารณาว่าควรปรับรูปแบบธุรกิจหรือไม่
บรรทัดต่อมาจะเป็นต้นทุนขาย ต้นทุนขายคือค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่คุณต้องใช้เพื่อให้สินค้าอยู่ในสภาพ”พร้อมขาย” ดังนั้นต้นทุนขายจึงไม่ได้มีเเค่ต้นทุนวัตถุดิบและค่าการผลิต เเต่ยังรวมไปถึงค่าขนส่งไปยังร้านค้าต่างๆ หรือ ค่าไปรษณีย์ไปยังบ้านของลูกค้าอีกด้วย
เมื่อนำยอดขายหักด้วยต้นทุนขายก็จะได้กำไรขั้นต้น หากกำไรขั้นต้นติดลบ นั่นหมายความว่ายิ่งขาย คุณจะยิ่งขาดทุน คุณสามารถคำนวณ กำไรขั้นต้น หรือ Gross profit Margin ได้โดยการ ถ้า GP อยู่ที่ 75% หมายความว่า ทุกๆ 100 บาทที่คุณขายได้ คุณจะได้กำไร 75 บาท
อย่างไรก็ดี นั่นยังไม่ใช่กำไร ที่คุณจะเก็บเข้ากระเป๋าได้ กำไรขั้นต้นนี้จะต้องถูกนำไปแบ่งเบาค่าใช้จ่ายอื่นๆต่อไปอีก อย่างเช่น ค่าใช้จ่ายในการทำโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้า ค่าเช่าโรงงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าพนักงานประจำค่าซื้อเครื่องจักรใหม่ เป็นต้น หลังจากนั้นจึงจะมาหักลบกับดอกเบี้ยและภาษีเงินได้ เป็นรายได้สุทธิของกิจการ
วิธีนี้จะทำให้คุณเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ค่าใช้จ่ายของกิจการไป”บวม”อยู่ที่บรรทัดไหน เช่น คุณอาจจะขายดีมาก ดีที่สุดในรอบ6เดือนที่ผ่านมา แต่สุดท้ายเเล้ว คุณอาจจะขาดทุนเพราะ ใช้ค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณามากเกินไป ถึงเเม้จะขายได้มากแต่ก็ไม่ครอบคุมค่าโฆษณาในครั้งนี้ ดังนั้น การแยกรายรับและรายจ่ายโดยละเอียดจะทำให้คุณคิดมาตราการควบคุมรายรับรายใช้จ่ายและ เพิ่มศักยภาพในการทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เงินที่ได้จากธุรกิจ เหลือมาถึงคุณเป็นเงินสดกี่บาท? - งบกระแสเงินสด
การทำงบกำไรขาดทุนนั้นตั้งอยู่บนเกณฑ์คงค้าง (accrual basis) นั้นหมายความว่า บางอย่างเราอาจจะยังไม่ได้รับหรือจ่ายเงินจริง ยกตัวอย่างเช่น
ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องดู งบกระเเสเงินสด ว่าสุดท้ายเเล้วคุณมีเงินสดเหลืออยู่เท่าไหร่ เพื่อป้องกันไม่ให้ธุรกิจขาดสภาพคล่อง หรือ เกิดอาการหมุนเงินสดไม่ทัน โดยกระเเสเงินสด หรือ cashflow
นั้นเเบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน
1. กระเเสเงินสดกิจกรรมดำเนินงาน
กระเเสเงินสดนี้ได้มาจากการทำธุรกิจของคุณโดยตรง ง่ายๆคือ คุณรับเงินสดจากการขายของมาเท่าไหร่ จ่ายเงินออกไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ อย่าง เช่นเงินสดค่าสินค้าที่จ่ายไป เงินเดือนที่จ่ายให้พนักงาน เบ็ดเสร็จเเล้วคุณมีเงินเหลือจากการประกอบกิจการเท่าไหร่
2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
โดยปกติแล้วกระเเสเงินสดประเภทนี้มักติดลบ เนื่องจากมีการจ่ายเงินออกไปลงทุนในกิจการเพิ่มเติม เช่น การซื้อสินทรัพย์ เช่น เครื่องจักร รถยนต์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ในทางกลับกันกระเเสเงินสดอาจเป็นบวกได้หากคุณมีการขายสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้เเล้วออกไป
3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
กระเเสเงินสดนี้เป็นเงินที่คุณได้มาจากการหาเงินมาเพิ่มเติมในธุรกิจนั้นเอง เหมือนกันทางฝั่งขวาของงบดุล การหาเงินในที่นี้มาจาก 2 แหล่ง คือ จากเจ้าของ(ลงทุนเพิ่ม) หรือเจ้าหนี้(กู้เพิ่ม) เมื่อคุณได้เงินจากนายทุนมาเป็นกระเเสเงินสดบวกแล้ว คุณก็ต้องจ่ายดอกเบื้ย จ่ายปันผล หรือ จ่ายคืนเงินต้น เป็นกระเเสเงินสดติดลบนั้นเอง
การทำงบกระเเสเงินสดจะทำให้คุณเห็นภาพรวมว่าเมื่อได้รับเงินจากการขายมา เงินของคุณไปแยกย้ายไปอยู่ที่ไหนบ้างและเหลือถึงคุณเท่าไหร่
ดังนั้น หากมีเขียนแผนธุรกิจที่ดี และ ทำการตรวจสุขภาพธุรกิจด้วย 3 งบนี้อย่างสม่ำเสมอ คุณจะไม่ได้เเค่มีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้น แต่ ธุรกิจของคุณจะมีความสามารถในการทำกำไรมากขึ้น เเละ คุณยังจะสามารถกระจ่ายเงินสดของคุณได้อย่างเหมาะสม และ สามารถมีเงินไปต่อยอดทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน
หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวหัวข้อนี้ และ การวางรากฐานให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างเป็นระบบ
ติดต่อเรา 🍄Muchroom Consultancy
📲Line@ https://lin.ee/vahBqeT
Comments