SME บางที่อาจมีกำไร ขายดิบขายดี เเต่อาจไปไม่รอด กลับกัน บางธุรกิจขาดทุนเป็นสิบปีเเต่ก็ยังไม่เจ๊งเป็นไปได้ยังไงกัน เราบอกคุณเลยว่าเป็นไปได้ ธุรกิจคุณจะอยู่รอดหรือไม่นั้น ส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับการบริหารการเงินธุรกิจ วันนี้เราจะมาอธิบายว่า ทำไมเงินสดถึงสำคัญต่อธุรกิจคุณอย่างมาก เเละ 3 กฎเหล็กในการบริหารเงินสด
Cash is king คุณจะดำเนินกิจการอย่างไรถ้าไม่มีเงินไปจ่ายค่าวัตถุดิบ จะขยายกิจการอย่างไรถ้าไม่มีเงินไปลงทุน ทำอย่างไรให้ธุรกิจได้กำไร แล้วถ้าคุณบอกว่า ก็ไปกู้ธนาคารสิ อ้าวแล้วถ้าไม่มีเงิน คุณจะเอาอะไรมาจ่ายคืนเจ้าหนี้ละครับ!?
วงจรเงินสด หรือ Cash Conversion Cycle (CCC)
เป็นมาตราวัดอย่างหนึ่งที่จะช่วยบอกได้ว่าคุณกำลังช๊อตอยู่หรือเปล่า วงจรเงินสด คือ จำนวนวันกว่าคุณจะได้รับเงินสดหลังจากการดำเนินการทั้งหมด ตั้งเเต่การ สั่งซื้อวัตถุดิบไปจนถึงวันที่ลูกค้าจ่ายเงินให้คุณ
วงจรเงินสด = ระยะเวลาทำงาน + ระยะเวลาเก็บเงินจากลูกค้า - ระยะเวลาชำระหนี้การค้า
ระยะเวลาทำงาน = ยิ่งสั้นยิ่งดี
ระยะเวลาทำงาน คือ ระยะเวลานับตั้งแต่วันที่ซื้อวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตเข้ามาเก็บในคลังสินค้า ผ่านกระบวนการผลิต จนกระทั่งถึงวันที่ขายสินค้าออกไปได้
ระยะเวลาเก็บเงินจากลูกค้า = ยิ่งสั้นยิ่งดี
คุณใช้เวลากี่วันนับตั้งแต่วันที่ขายสินค้าออกไปจนถึงวันที่ลูกค้ามาจ่ายค่าสินค้าให้คุณ ระยะเวลานี้ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจของคุณด้วย ในกรณีขายเงินสดระยะเวลาเป็น 0 วัน แต่อาจยาวไปถึง 90 วันหรือมากกว่า ในกรณีที่คุณให้เครดิตกับลูกค้า
ระยะเวลาชำระเจ้าหนี้ = ยิ่งช้ายิ่งดี
ในทางกลับกันระยะเวลาชำระหนี้ คือระยะเวลานับตั้งแต่วันที่ซื้อสินค้ามาขายหรือวัตถุดิบใช้ในการผลิต จนถึงวันที่จ่ายชําระค่าสินค้าหรือวัตถุดิบนั้น
ยกตัวอย่างเช่น บริษัทKolthes ซื้อเสื้อผ้ามาเพื่อขายโดยสินค้าจะอยู่ในคลัง 40 วัน ก่อนที่จะขายได้ โดยขายเป็นเงินเชื่อ โดยให้ระยะเวลาลูกหนี้ชำระเงิน 30 วัน และ ต้องจ่ายชำระค่าเสื้อผ้าที่ซื้อมาภายใน 60 วัน
ระยะเวลาทำงาน+ระยะเวลาเก็บหนี้จากลูกค้า-ระยะเวลาชำระหนี้การค้า = วงจรเงินสด
40 วัน +30 วัน - 60 วัน = 10 วัน
ในกรณีนี้แสดงให้เห็นว่า สภาพคล่องของบริษัทKolthesนั้นไม่ดีนัก บริษัทต้องจ่ายหนี้ให้กับเจ้าหนี้การค้าใน 60 วัน เเต่กลับใช้เวลานานถึง 70 วัน (40+30) กว่าที่จะเก็บเงินจากลูกค้าได้
ดังนั้นคุณจะเห็นได้ว่า
วงจรเงินสดนั้นยิ่งสั้นหรือติดลบได้ยิ่งดี
นั้นหมายความว่าคุณควรทำงานขายของและเก็บเงินให้ไวกว่าระยะเวลาชำระเจ้าหนี้ อย่างไรก็ตามตัวเลขนี้อาจขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจของคุณด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามจำนวนวันของวงจรเงินสดควรมีค่าใกล้เคียงหรือลดลง หากวงจรเงินสดของบริษัทคุณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอาจส่อสัญญาณอันตรายว่าคุณกำลังเผชิญกับปัญหาสภาพคล่อง ดังนั้นคุณต้องทำให้มั่นใจว่าระยะเวลาที่คุณต้องจ่ายเจ้าหนี้นั้นสอดคล้องกับระยะเวลาทำงานเเละเงินที่จะเก็บได้จากลูกค้า
วันนี้เรามี 3 กฎเหล็กในการบริหารการเงินธุรกิจและสภาพคล่อง ที่จะช่วยให้เราบริหารธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนมาฝาก
1. ถือเงินสดให้เหมาะสมด้วยการติดตามตรวจสอบวงจรเงินสดอย่างสม่ำเสมอ
การทำเช่นนี้จะช่วยให้คุณวางแผนเงินสดที่พอเพียงต่อการหมุนเวียนในวงจรของธุรกิจ หรือ ที่เรียกว่า "เงินทุนหมุนเวียน" และ ยังช่วยเปิดโอกาสให้คุณนำเงินส่วนเกินไปลงทุนให้งอกเงยมากขึ้น เช่น นำไปลดภาระเงินกู้ยืมเพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย หรือนำไปขยายธุรกิจ
ในทางกลับกันหากวงจรเงินสดชี้ว่า คุณมีเงินหมุนเวียนไม่เพียงพอ คุณอาจจะต้องหาทางออกเพื่อปรับปรุงสภาพคล่องของธุรกิจเช่น เจรจาต่อรองให้ลูกหนี้จ่ายเร็วขึ้น ขอยืดระยะเวลาชำระหนี้การค้าออกไป หรือเเม้กระทั้งหาเงินกู้ยืมจากแหล่งต่างๆ
เงินทุนหมุนเวียนนั้นสามารถคำนวณได้โดยดูจากตัวอย่างด้านล่างนี้
บริษัทKolthes มียอดขายเดือนละ 20,000 บาท โดยมีต้นทุน 6,000 บาท เครดิต 2 เดือน โดยบริษัทมี นโยบายที่จะรักษาระดับสินค้าคงคลังประมาณ 3 เดือน ก่อนจะขายออกไปได้ (ขายเงินสด) ระหว่างนี้ บริษัทมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อเดือน 1,000บาท
ระยะเวลาทำงาน+ระยะเวลาเก็บหนี้จากลูกค้า-ระยะเวลาชำระหนี้การค้า = วงจรเงินสด
3 เดือน+ 1 เดือน-2 เดือน = 2 เดือน
บริษัทKolthes ควรมีเงินหมุนเวียนให้เพียงพอต่อ 2 เดือนนี้ อย่างน้อย 25,000บาท
เงินทุนสำหรับการซื้อของมาขาย = 18,000 บาท (ต้นทุน 6,000บาท x ระยะเวลาทำงาน 3 เดือน)
เงินทุนสำหรับขายเชื่อ 1 เดือน = 7,000 บาท (ต้นทุน 6,000 + ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 1,000บาท)
รวมเป็นเงินทุนหมุนเวียน 25,000บาท (18,000 บาท + 7,000 บาท)
หาก SME สามารถบริหารจัดการการเงินธุรกิจได้ดีขึ้นและสามารถลดระยะเวลาทำงานลงมาเหลือ 1 เดือน เงินทุนหมุนเวียนจะลดลงเหลือ 13,000 บาท
เงินทุนสำหรับการซื้อของมาขาย = 6,000 บาท (ต้นทุน 6,000บาท x ระยะเวลาทำงาน 1 เดือน)
เงินทุนสำหรับขายเชื่อ 1 เดือน = 7,000 บาท (ต้นทุน 6,000 + ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน 1,000บาท)
รวมเป็นเงินทุนหมุนเวียน 13,000บาท (6,000 บาท + 7,000 บาท)
2. มองการณ์ไกล หมั่นประเมินความเสี่ยง
SME ควรประเมินกระเเสเงินสดได้ทั้งระยะสั้นเเละระยาว เพื่อให้สามารถวางแผนการผลิต แผนการขายและการตลาด อีกทั้งนโยบายการให้เครดิตแก่ลูกค้า ให้เพียงพอกับวงจรเงินสดของธุรกิจ และมีกระเเสเงินสดเหลือพอที่จะไปพัฒนาธุรกิจให้เติบโตสอดคล้องกับแผนธุรกิจและกลยุทธ์
นอกจากนี้SME ควรหมั่นประเมินความเสี่ยงของธุรกิจอีกด้วย เพื่อพิจารณาว่าคุณควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือไม่ และ จำเป็นจะต้องใช้เงินลงทุนมากน้อยเเค่ไหน ความเสี่ยงอาจเกิดจาก สถานการณ์เศรษฐกิจ เเนวโน้มราคาวัตถุดิบ อัตราแลกเปลี่ยน หากธุรกิจคุณเกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออก รวมไปถึงความสามารถในการเเข่งขัน เช่น ระยะเวลาทำงาน หรือต้นทุน ของคุณเทียบกับคู่เเข่ง
3. สำรองเงินไว้เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน
เหตุการณ์คาดไม่คิดอาจเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์โรคระบาดอย่างโควิด19 ลูกค้าเลิกกิจการ เกิดอุบัติเหตุในโรงงาน คุณจึงควรมีเงินสดหรือสินทรัพย์ที่เปลี่นเป็นเงินสดได้โดยง่าย ติดไว้เพียงพอต่อการดำเนินงาน 6 เดือนเสมอ เพื่อไว้ใช้ประคับประคองธุรกิจยามคับขัน
นอกจากนี้คุณยังสามารถนำ เทคนิคการบริหารเงินสดให้มีสภาพคล่อง จาก กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ไปปรับใช้ได้ด้วยนะ
สุดท้ายนี้ หากคุณหมั่นปรับปรุงวงจรเงินสดของคุณให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ ทำอย่างไรให้ธุรกิจได้กำไร จะช่วยให้คุณไม่ต้องถือเงินสดในการดำเนินงานมากเกินจำเป็น หรือ กู้ยืมเงินโดยไม่จำเป็น สามารถปรับตัวกับธุรกิจได้อย่างทันท่วงที แถมยังมีเงินสดสำรองหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันอีกด้วย
หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวหัวข้อนี้ และ การวางรากฐานให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างเป็นระบบ
ติดต่อได้ที่
- ☎️ Tel: 082-221-3441
- 📧 email: muchroom.consultancy@gmail.com
- FB Message : http://m.me/muchroom.consultancy/
Comments