top of page
Writer's pictureTanasit J.

SME จะวางแผน ธุรกิจ และประเมินความเสี่ยงอย่างไรในช่วง Covid-19

Updated: Feb 23, 2021


เนื่องด้วยสถาณการณ์ปัจจุบันที่ส่งผลกระทบถึงสุขภาพ และความปลอดภัยต่อทุกคน การเยียวยาของรัฐบาลก็ยังคงไม่แน่ชัด และ อาจไปไม่ถึงทุกคนที่ได้รับผลกระทบ


ความไม่แน่นอนนั้นเอง ธุรกิจในหลายๆภาคส่วนจำเป็นที่จะต้องมีมาตราการ หรือ วิธีการประเมินความเสี่ยงของ โควิด 19 (Covid-19) ในปัจจุบัน ด้วยตัวเอง เพื่อวางแผนธุรกิจในการลดความเสี่ยงจาก Covid-19 เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจจะยังคงมีผลกำไร และ ดำเนินงานต่อไปได้ในอนาคตไม่ว่ามาตราการจากรัฐบาลจะเป็นเช่นไร


แบบประเมินที่ MuchRoom อยากนำเสนอ เรียกว่า การประเมินความต่อเนื่องของธุรกิจในช่วง Covid-19 และสถาณการณ์ปัจจุบัน (Business Continuity Assessment) ซึ่งเราได้ทำการดัดแปลงมากจาก รายงานจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) เพื่อให้เหมาะกับรูปแบบการทำงานของ SME ในประเทศไทยมากที่สุด


เป้าหมายของ แบบประเมินนี้ คือ เพื่อให้ SME สามารถประเมินความเสี่ยงที่มีอยู่ หรือ อาจมีในอนาคต ที่ส่งผลต่อการดำเนินการของธุรกิจ รวมถึง สามารถจัดลำดับความสำคัญ จากคะแนนที่ได้ และ หาทางรับมือกับความเสี่ยงเหล่านั้นได้ด้วยตนเอง


SME จะวางแผน ธุรกิจ และประเมินความเสี่ยงอย่างไรในช่วง Covid-19



แบบประเมินความต่อเนื่องของธุรกิจในสถาณการณ์ปัจจุบัน ประกอบไปด้วย 4 ส่วนสำคัญ ได้แก่

  1. คน : ประเมินความปลอดภัยของทีมงาน และครอบครัวของทีมงาน

  2. ขั้นตอนการทำงาน : ประเมินการดำนินการของธุรกิจในปัจจุบัน

  3. ผลกำไร : ประเมินความสามารถในการสร้างรายได้

  4. คู่ค้าทางธุรกิจ : ประเมินสภาพแวดล้อมโดยรวมที่ส่งผลต่อการทำธุรกิจร่วมกัน

ผลประเมินจะออกมาในรูปแบบของคำตอบ ใช่/ไม่ใช่ โดยหาก มีการตอบ YES ในเรื่องไหนมาก นั่นแสดงถึง SME มีความเสี่ยงในเรื่องเหล่านั้นมากเป็นพิเศษ และควรให้ความสำคัญในการสังเกตุการณ์ และหาทางแก้ไข


การตีความของคะแนน


>31 : ธุรกิจมีได้รับผลกระทบอย่างมากจากสถาณการณ์ปัจจุบัน และอาจส่งผลให้ธุรกิจหยุดชะงักในระยะยาว ขั้นตอนการแก้ไข คือ ระบุส่วนที่ส่งผลกระทบกับธุรกิจมากที่สุด และทำการวัดผล สังเกตุการณ์ และ ลดผลกระทบของส่วนนั้นลง

16-30 : ถึงแม้จะมีมาตราการรับมือ แต่ธุรกิจยังคงได้รับผลกระทบ และยังคงมีความเสี่ยงในการทำงาน ข้อเสนอแนะ คือ ระบุส่วนที่เป็นความเสี่ยง และ จัดลำดับความสำคัญในการแก้ไข และ ลดความเสี่ยงนั้นลง ในขณะที่ทำ การวางแผนธุรกิจความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan or BCP)

0-15 : มาตราการรับมือทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงต่ำ หรือ ไม่มี แต่อาจมีบางส่วนที่อาจเป็นความเสียงในการดำเนินการ ข้อเสนอแนะ คือ ทำ BCP เพื่อสังเกตุการณ์ และ ลดความเสี่ยงนั้น


6 ขั้นตอนในการ วางแผนธุรกิจ ในความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan or BCP)

  1. ระบุ สินค้า หรือ บริการหลัก ของธุรกิจ - อะไรคือ สินค้า หรือ บริการทำสร้างรายได้หลัก ความต้องการจากลูกค้าในสินค้ากลุ่มนั้น เป็นต้น

  2. ทำการกำหนดเป้าหมายในการทำ BCP - SME ต้องการจะทำอะไรให้สำเร็จในการสร้าง BCP นี้

  3. ประเมิน และ ระบุ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น กับธุรกิจ และ ทีมงาน - ประเมินระยะเวลาที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อีก (ผลกระทบทางด้านการเงิน) และ ประเมินความสามารถของผู้ผลิต และ คู่ค้าทางธุรกิจ หากไม่สามารถดำเนินงานตามปกติได้

  4. ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อดำเนินธุรกิจต่อไป - ใช้เงื่อนไขในการประเมินในการหาทางออก (คน ขั้นตอนการทำงาน ผลกำไร คู่ค้าทางธุรกิจ)

  5. ระบุผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการดำเนินการ และ สร้างการวิธีสื่อสารออนไลน์ - การสื่อสารส่วนใหญ่จะเป็นออนไลน์ เนื่องจากอาจไม่สามารถเข้าถึงกันได้อย่างปกติ เพราะฉะนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องแจ้งทุกทีมงานที่เกี่ยวข้อง

  6. ทบกวน สังเกตุการณ์ และ อัพเดต BCP เป็นประจำเมื่อสถาณการณ์มีการเปลี่ยนแปลง


 

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม มีคำถาม หรือ ปรึกษา เกี่ยวกับ แบบประเมิน, BCP หรือ อื่นๆ สามารถติดต่อได้ที่

- ☎️ Tel: 082-221-3441

- 📧 email: muchroom.consultancy@gmail.com




Comments


bottom of page