top of page
  • Writer's pictureTanasit J.

การบริหารสินค้าคงคลัง สต้อกสินค้า ยังไงให้ไม่จม มีกำไร ด้วย Stock Lifetime

Updated: May 14, 2021

SME จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ควรจะสั่งสินค้าเพิ่ม เเละ ควรสั่งปริมาณเท่าไหร่ ?

การบริหารสินค้าคงคลัง สต้อกสินค้า ยังไงให้ไม่จม มีกำไร ด้วย Stock Lifetime

Safety stock อาจจะเป็นสิ่งหลายๆคนเคยได้ยินมาบ้าง


Safety stock คือปริมาณสินค้าที่มีเผื่อไว้ เพื่อป้องกันกรณีของขาดในการผลิต หรือ มั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับสินค้าที่ต้องการในทันที ในกรณีที่ยอดขายมากกว่าที่คาดการไว้ แต่ข้อเสียของ Safety Stock แบบระบุเป็นจำนวนตายตัว คือ บริษัทอาจจะไม่ได้มีความสามารถในการปรับตัวไปกับสถานการณ์ของกิจการได้อย่างคล่องตัว เเละ อาจก่อให้เกิดปัญหาในการการบริหารสินค้าคงคลังได้


ในทางกลับกัน การใช้ Stock Lifetime (SLT) เป็นอีกมาตรวัดหนึ่ง จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีความ ยืดหยุ่น และ ปรับตัวไปกับสถานการณ์ของกิจการได้อย่างรวดเร็ว

หลักการของ Stock Lifetime คือ สินค้าที่เรามีตอนนี้ จะอยู่ในคลังของเราอีกกี่วัน จนกว่าจะขายหมดไป

โดยบริษัทจะนำ Stock Lifetime ไปใช้ในการวางแผนการจัดซื้อสินค้า (procurement) เข้ามาเติมที่คลังได้อย่างเเม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมยังได้ผลพลอยได้ เป็นค่าส่งที่ลดลง และ ส่วนลดในการสั่งซื้อ


ยกตัวอย่างเช่น บริษัทXYZ ขายกระเป๋าได้เฉลี่ย 20 ชิ้น ต่อ สัปดาห์ และมีกระเป๋าอยู่ในคลัง 300 ใบ แปลว่า เราจะสามารถคาดการณ์ได้ว่า กระเป๋าจะหมดไปในอีก 15 สัปดาห์ (300/20) ซึ่งเราเรียกเวลา 15 สัปดาห์นี้ว่าเป็น Stock lifetime ของกระเป๋าเเบรนด์ XYZ


บริษัท XYZ อาจมองว่า 15 สัปดาห์ หรือ 105 วัน เป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกินไป หรือ ไม่ได้มีพื้นที่มากพอที่จะจัดเก็บสินค้าทั้ง 300 ชิ้น บริษัทXYZ ต้องการจะลดพื้นที่ และ ระยะเวลาในการจัดเก็บ โดยปัจจัยที่เราต้องคำนึงถึง เพื่อลด Stock Lifetime คือ

  1. จำนวนวันที่ต้องการถือสินค้า (Stock Lifetime ใหม่) (30 วัน)

  2. ระยะเวลาในการสั่งสินค้ามาเติม หรือ lead time (7 วัน)

  3. ยอดขายเฉลี่ย (20 ชิ้น / สัปดาห์ หรือ 3 ชิ้น / วัน )

  4. ยอดสั่งขั้นต่ำ หรือ MOQ (50 ชิ้น)

ฉะนั้น บริษัท XYZ จะต้องสั่งสินค้าเมื่อ มีสินค้าคงคลัง 161 ชิ้น หรือ ในอีก 47 วัน โดยคำนวณจาก

  • Stock Lifetime = ([30วัน+7วัน]* 3 ชิ้น)+ 50 ชิ้น = 161 ชิ้น หรือ

  • ในอีก ประมาณ 47 วัน ((300 ชิ้น - 161 ชิ้น)/ ยอดขาย 3 ชิ้น/วัน)


ข้อดีของการคำนวณ Stock Lifetime คือ


1. SME สามารถ วางแผนการผลิตได้มีประสิทธิภาพ และทันต่อความต้องการของลูกค้า

ยกตัวอย่างเช่น บริษัทXYZ วางแผนทำกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือ โปรโมชั่น โดยคาดว่าจะทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า จะ 3 ชิ้นต่อ วัน เป็น 6 ชิ้นต่อวัน ดังนั้น XYZ จะต้องวางแผนที่จะต้องสั่งสินค้ามาเร็วกว่ากำหนด หรือ ประมาณอีก 23 วันข้างหน้า เพื่อไม่ให้สินค้าขาดตลาด


2. ลดความเสี่ยงของ SME ในการมีสต๊อกจม หรือ Dead Stock

ในทางกลับกัน หากยอดขายไม่ได้เป็นไปตามคาด อย่างเช่น ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด ทำให้ไม่สามารถเปิดร้านได้ บริษัท XYZ อาจจะต้องยืดระยะเวลาการสั่งสินค้าออกไป จนกว่า จำนวนสินค้าจะลดลงเหลือ 161 ชิ้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด สต้อกสินค้าจม หรือ ล้นในบริษัท

ในกรณีที่ยอดขายของคุณมีความผันผวนตามฤดูกาล (seasonality) หรือ เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการณ์เปลี่ยนเเปลงทางเศรษฐกิจ เช่น โควิด 19 เราเเนะนำให้คุณเลือกใช้ยอดขายเฉลี่ย 2 เดือนย้อนหลัง เเทนที่จะใช้ยอดขายเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี เนื่องจาก จะสามารถสะท้อนสภาพตลาดได้ดีมากกว่า ส่งผลให้เราสามารถคาดการณ์ได้อย่างเเม่นยำมากขึ้น ว่า สินค้าจะเหลืออยู่ในคลังของเราอีกกี่วันจนกว่าจะหมดไป


3. วัดผลการทำงานได้ทั้ง value chain

การคำนวณ Stock Lifetime เป็นประจำทุกเดือน จะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของธุรกิจได้ดีขึ้น ไม่เฉพาะเเต่งานการบริหารสินค้าคงคลัง แต่รวมไปถึงการวัดประสิทธิภาพของทีม Sales and marketing อีกด้วย ว่าเราสามารถดึงดูดลูกค้าได้มากน้อยแค่ไหน สามารถขายได้ตรงตามเป้าหมายหรือไม่ ทีมหลังบ้านทั้ง ทีมจัดซื้อ (procurement) ทีมการจัดการการดำเนินงาน (operation) มีประสิทธิภาพมากน้อยเเค่ไหน ในการจัดการsupply chain ให้มีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการ หรือ demand ที่ทีม Sales ได้สร้างขึ้น

 

ดังนั้น หากคุณสามารถทำการประยุกต์ใช้ Stock Lifetime ในการพิจารณาปริมาณสต้อกสินค้าแล้วนั้น คุณจะไม่จำเป็นอีกต่อไปที่จะทำการสั่งสินค้าเมื่อถึงจำนวนชิ้นที่กำหนด หรือ Safety stock แต่จะสั่งตาม Stock Lifetime ของสินค้านั้นๆ ลดโอกาสการถือสินค้าเยอะมากเกินจำเป็น และสามารถปรับตัวไปกับกลไกตลาดได้อย่างรวดเร็ว


หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวการบริหารสินค้าคงคลังและ การวางรากฐานให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างเป็นระบบติดต่อเรา

- ☎️ Tel: 082-221-3441

- 📧 email: muchroom.consultancy@gmail.com

Comentários


bottom of page