top of page
  • Writer's pictureTanasit J.

7 ความเชื่อผิดๆว่าระบบหลังบ้านที่ดีไม่จำเป็นสำหรับ SME

Updated: Mar 13, 2021

SME ส่วนมากรู้ว่า “ระบบหลังบ้าน” ที่ดีนั้น จะช่วยให้ การบริหารตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ จนถึง ส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้า นั้นมีต้นทุนลดลง และ มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้นนั่นเอง ส่งผลต่อธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ระบบบริหารหลังบ้าน ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ERP system เพียงอย่างเดียว แต่หมายถึง โปรแกรมที่ช่วยจัดการปัญหาหลังบ้านแทบทั้งหมด ตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ ตลอดจนส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้ทันต่อความต้องการ เช่น ระบบสต็อคสินค้า เข้าและออก, ระบบบัญชี, ระบบบริหารจัดการหน้าร้าน (POS) เป็นต้น เครื่องมือบริหารหลังบ้านนั้น มีอยู่ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น Excel-based tool, Owned-application หรือแม้แต่ Network system


เป้าหมายของการมี”ระบบหลังบ้าน”เหล่านี้ก็เพื่อ รวบรวมข้อมูล ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขายรายย่อย ผู้ผลิต และอื่นๆ ไว้ในที่เดียว เพื่อลดความซับซ้อนในการจัดการ เพิ่มความเร็วในการตัดสินใจ และทำให้คนทั้งองค์กรนั้นสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น รวมถึงใช้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่จะเอามาวิเคราะห์สำหรับการวางแผนการเติบโตในอนาคตอีกด้วย


7 ความเชื่อผิดๆว่าระบบ Supply Chain Management System (SCM) ไม่จำเป็นสำหรับSME

แต่ SME หลายเจ้าก็จะมีเหตุผลมากมายของแต่ละธุรกิจที่ทำให้ เลือกที่จะ”ไม่ลงทุน” ในระบบหลังบ้านนั้น วันนี้เราจึงรวบรวม 7 ความเชื่อผิดๆ ที่ทำให้ถึงแม้รู้ถึงประโยชน์ของ “ระบบหลังบ้าน” แต่ก็ยังไม่กล้าจะลงทุนซะที โดยทางเราหวังว่าบทความนี้จะทำให้หลายๆSME เปลี่ยนความคิด และเริ่มต้นบริหารหลังบ้านอย่างมีแบบแผน เพื่อเติบโตอย่างมีระบบและยั่งยืนในอนาคต


1. การลงทุนในระบบหลังบ้านนั้น”แพง”

การลงทุนในการบริหารสินค้าคงคลัง วัตถุดิบ หรือ การวางแผนการผลิตนั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องมีราคาสูงเสมอไป ราคาของ “ระบบหลังบ้าน” นั้นขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ และ ความจำเป็นในช่วงเวลานั้นๆ โดย SME หลายๆที่ไม่จำเป็นต้องลงทุนในทุกส่วนตั้งแต่เริ่มต้น ถ้าหาก ธุรกิจของคุณ อยู่ในรูปแบบซื้อมาขายไป ระบบแรกที่ควรมีและคำนึงถึง คือ ระบบจัดการสต็อคสินค้า ที่เชื่อมโดยตรงกับ ช่องทางการขายต่างๆที่มีนั้น ซึ่ง ณ ปัจจุบันมีให้เลือกมากมายในท้องตลาด


ผลตอบแทนจากการลงทุนในระบบหลังบ้านนั้น จะช่วยทำให้คุณตัดสินใจในเรื่องการสั่งซื้อ หรือ มีข้อมูลที่ทำให้คาดการณ์ยอดขายได้อย่างเเม่นยำ เราสามารถพูดได้ว่าการลงทุนในระบบนั้นจะช่วยให้ SME นั้นสามารถเก็บเงินได้ มีกำไรมากขึ้นด้วย ดังนั้นแทนที่จะให้ความสนใจแต่เพียงแค่ราคาของระบบหลังบ้าน SME ควรจะให้ความสนใจในการวัดผลความสามารถที่ระบบจะให้กลับมาได้ด้วย


2. ระบบบริหารห่วงโซ่อุปทานนั้น”ใช้งานยาก”

แน่นอนระบบหลังบ้าน อาจจะใช้ยากสักนิดในช่วงวางแผนและติดตั้ง แต่หากเราใส่ใจในการออกแบบระบบ และ วิธีการทำงานในช่วงแรก จะส่งผลให้ระบบการทำงานของSME ในภาพรวมดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาของความยุ่งยากจริงๆแล้วนั้นเกิดจาก การที่ SME พยายามรวมข้อมูลการทำงานจากหลายแผนกเข้าด้วยกันในexcel 1 ไฟล์ เพื่อตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง แต่ถ้าหากเรามี ระบบบริหารที่ดีนั้นจะช่วยการันตีความถูกต้องของข้อมูล ลดความยุ่งยากในการทำงาน และทำให้การทำงานเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น (process automation) ส่งผลให้SME สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกมากขึ้น เช่น ระบบหลังบ้านหลายเจ้า มีการทำ Dashboard เพื่อให้ ข้อมูลเชิงลึกในการขาย โดยที่เจ้าของไม่ต้องนำข้อมูลใน Excel มาคำนวนเองเลย


3. บริษัทเรายัง”เล็กเกินไป”ที่จะคิดถึงเรื่องระบบหลังบ้าน

ไม่ว่าขนาดของธุรกิจ จะเล็ก หรือ ใหญ่ เพียงใดก็ตามล้วนเผชิญกับความกดดันจากตลาดมีมากขึ้น และความคาดหวังของลูกค้าต่อสินค้าสูงขึ้นตามมาเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นธุรกิจ รวมถึง SME จำเป็นอย่างมากในการที่จะตัองไล่ตามแรงกระตุ้นเหล่านั้น ด้วยการเสาะหาช่องทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็น ลดต้นทุน หรือ เพิ่มผลกำไรจากการขายสินค้า เพราะหากเรายังเลือกที่จะยังอยู่ที่เดิม จะไม่สามารถไล่ตาม หรือ ถูกธุรกิจอื่นไล่ตามเข้าจนได้ ปัจจัยหลัก คือ การทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมีระบบ และ มีระบบหลังบ้านที่เหมาะกับขนาดของธุรกิจนั้นเอง


การมีระบบทีดีตั้งแต่แรกนั้น จะทำให้ SME ไม่ต้องมีปัญหา ความยุ่งยาก เข้ามาในช่วงที่ ธุรกิจกำลังอยู่ในช่วงที่จะเติบโต เพราะระบบหลังบ้านเหล่านั้น มีฟังก์ชั่นที่คอยช่วยซัพพอร์ตการขายมากมาย อาทิเช่น การปรับเปลี่ยนราคา การลิ้งข้อมูลไปยัง market place ต่างๆ และอื่นๆอี่กมากมาย


4. การลงทุนใช้เวลา”นานมากกว่าจะเห็นผล”

เมื่อพูดถึงการลงทุน ผลตอบแทนจากการลงทุน หรือ ROI มักจะมีผลเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเสมอ จริงอยู่ที่การลงทุนในระบบหลังบ้านนั้นใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล แต่หลังจากที่ SME เริ่มใช้งานระบบอย่างเต็มที่และพัฒนาความสามารถในการทำงานแล้ว คุณจะเห็นผลกำไรของคุณเติบโต และระดับความพึงพอใจของลูกค้านั้นสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในปัจจุบัน ผู้ให้บริการระบบหลังบ้านหลายรายก็ยังให้บริการในรูปแบบ subscription หรือ รายเดือน ทำให้ต้นทุนในไม่สูงอย่างที่หลายคนคิด


ตัวอย่างผู้ให้บริการระบบหลังบ้านต่างๆ:

คุณจะเห็นผลกำไรของคุณเติบโตอย่างก้าวกระโดด เป็น exponential curve

5. เราสามารถ”ลดต้นทุนได้แล้ว ไม่มีความจำเป็น”ที่ต้องคิดเรื่องบริหารห่วงโซ่อุทาน

ยินดีด้วยกับความสำเร็จในครั้งนี้ แต่ในการทำให้ความสำเร็จนี้ยั่งยืนนั้นจำเป็นจะต้องมีระบบหลังบ้านที่แจ้งคุณว่า ค่าใช้จ่ายไหนกำลังเพิ่มขึ้น และ ควรได้รับการควบคุม ระบบหลังบ้านที่ดีจะไม่เพียงช่วยให้ธุรกิจมีความสามารถในการลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง แต่ยังลดเวลาการดำเนินการและการตัดสินใจด้วย เพราะระบบหลังบ้านที่ดี จะช่วยให้ธุรกิจ สามารถมองภาพจากหลายๆมุมมอง อย่างรวดเร็ว เช่น ความสามารถในการผลิต ต้นทุนสินค้า ปริมาณสินค้าคงคลัง ความพึงพอใจต่อการบริการ เป็นต้น


6. ไม่จำเป็นต้องวางแผน เพราะ”การคาดการณ์ในอนาคตนั้นไม่มีทางถูกต้องอยู่ดี

ธุรกิจที่มีระบบหลังบ้านที่ดีนั้น จะสามารถควบรวมข้อมูลของการขายในอดีต, เทรนด์ในตลาด, ปัจจัยในการผลิตอื่นๆ เพื่อที่จะคาดการณ์ปริมาณการขายในอนาคต และ สามารถปรับเปลี่ยนตามลักษณะการซื้อสินค้าที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้าได้อย่างทันท่วงที ความสามารถในการตัดสินใจ และ ปรับเปลี่ยน ได้อย่างรวดเร็วนั้นมีผลอย่างมากต่อการดำเนินการในธุรกิจปัจจุบัน ถึงแม้การคาดการณ์ในอนาคตจะซับซ้อนและยุ่งยากเพียงใด แต่นั้นคือจุดเริ่มต้นของการบริการลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพราะการคาดการณ์ได้อย่างเเม่นยำจะช่วยให้ SMEมีสินค้าคงคลังเพียงพอเหมาะสม โรงงานผลิต และ คลังสินค้า สามารถลดต้นทุน และ ลูกค้าได้รับสินค้าและการบริการที่พึงพอใจ


7. เราไม่จำเป็นต้องมีระบบหลังบ้าน เพราะ “เราบริหารจัดการได้อย่างดีเยี่ยมอยู่แลัว

การปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ความหลากหลายของสินค้า จำนวนพนักงาน การเติบโตของธุรกิจ และอีกมากมาย นั้นอาจส่งผลกระทบต่อวิธีการบริหารจัดการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทำให้สิ่งที่มีอยู่นั้น อาจไม่ใช้สิ่งที่ดีที่สุดเสมอไป เมื่อรูปแบบการดำเนินงานเปลี่ยน ธุรกิจอาจจะต้องลองมองหาโอกาสในการปรับปรุงระบบหลังบ้านใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง เพิ่อช่วยในการบริการลูกค้า รวมถึง เพิ่มความรวดเร็ว และ ถูกต้องในการตัดสินใจด้วย



 

หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวหัวข้อนี้ และ การวางรากฐานให้ธุรกิจของคุณเติบโตได้อย่างเป็นระบบ

ติดต่อได้ที่

- ☎️ Tel: 082-221-3441

- 📧 email: muchroom.consultancy@gmail.com

Comentarios


bottom of page